วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การพัฒนาระบบสารสนเทศ


บทที่ 1

เทคโนโลยีสารสนเทศ


ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงต่างๆ อาจอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ หรือเสียงก็ได้



สารสนเทศ (Information) หมายถึง สิ่งที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน การตัดสินใจ และการคาดการณ์ในอนาคตได้



ความรู้ (Knowledge) หมายถึง การรับรู้และความเข้าใจสารสนเทศจนถึงระดับที่สมารถวิเคราะห์ และสังเคราะห์ได้ คือมีความเข้าใจ (Understanding) ในองค์ประกอบต่างๆ จนอาจสร้างเป็นทฤษฎี หรือเป็นแบบจำลองทางความคิด และสามารถนำไปใช้เพื่อแก้ปัญหาในการดำเนินงานได้



ระบบ (System) หมายถึง กลุ่มของส่วนประกอบหรือระบบย่อยต่างๆ ที่มีการทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ซึ่งส่วนประกอบของระบบประกอบด้วย

1. การนำเข้า (Input) กิจกรรมการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบเพื่อการประมวลผล

2. การประมวลผล (Process) การนำทรัพยากรที่ได้นำเข้าสู่ระบบมาปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปที่มีความหมายเพื่อใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ

3. ผลลัพธ์ (Output) ผลผลิตจาการประมวลผล โดยทั่วไปอยู่ในรูปของเอกสารหรือรายงานสารสนเทศ

4. ข้อมูลสะท้อนกลับ (Feedback) ผลลัพธ์ได้จากการประมวลผลไปปรับปรุงการนำข้อมูลเข้าและกิจกรรมการประมวลผล



ระบบสารสนเทศ (Information System)

เป็นการนำองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันของระบบมาใช้ในการรวบรวม บันทึก ประมวลผล และแจกจ่ายสารสนเทศเพื่อใช้ในการวางแผน ควบคุม จัดการและสนับสนุนการตัดสินใจ



ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems : MIS)

หมายถึง การเก็บรวบรวมข้อมูลการประมวลผลและการสร้างสารสนเทศขึ้นมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจ การประสานงาน และการควบคุม



สาเหตุที่ทำให้เกิดสารสนเทศ

1. พัฒนาการของความรู้ สิ่งประดิษฐ์ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

2. พัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

3. การพัฒนาด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร

4. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการพิมพ์

5. ความจำเป็นในการใช้สารสนเทศ



ลักษณะของสารสนเทศ

1. ถูกต้องแม่นยำ (Accurate)

2. สมบูรณ์ครบถ้วน (Complete)

3. เข้าใจง่าย (Simple)

4. ทันต่อเวลา (Timely)

5. เชื่อถือได้ (Reliable)

6. คุ้มราคา (Economical)

7. ตรวจสอบได้ (Verifiable)

8. ยืดหยุ่น (Flexible)

9. สอดคล้องกับความต้องการ (Relevant)

10. สะดวกในการเข้าถึง (Accessible)

11. ปลอดภัย (secure)



องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์

1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)

2. ซอฟต์แวร์ (Software)

3. ข้อมูล (Data)

4. การสื่อสารและเครือข่าย (Telecommunication)

5. กระบวนการทำงาน (Procedure)

6. บุคลากร (People)



ความสำคัญของสารสนเทศ

องค์การต่างๆ ได้พัฒนาแผนงานและกลยุทธ์ด้านสารสนเทศเพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจและความได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการนำระบบสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในงานธุรกิจ

1. การท้าทายของเศรษฐกิจโลก สารสนเทศ คือ อำนาจ และการรู้จกคู่แข่งขัน และลูกค้า เป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้การดำเนินงานธุรกิจประสบความสำเร็จ

2. การแข่งขันทางการค้า จากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมที่ไร้ขีดจำกัด และการทำธุรกิจมีความเป็นอิสรเสรีมากขึ้น ส่งผลให้การแข่งขันทางการค้ามีความรุนแรงมากขึ้น

3. การขยายเครือข่ายทางการค้า การเปลี่ยนแปลงค่านิยมและวัฒนธรรมการบริโภคสินค้าขอผู้บริโภคทำให้การดำเนินงานธุรกิจในรูปแบบต่างๆ ต้องปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภค รูปแบบธุรกิจที่แต่เดิมมีการซื้อ-ขายและให้บริการภายในประเทศที่ผลิตสินค้าเท่านั้นได้มีการขยายตลาดไปยังสาขาต่างๆ รูปแบบที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายคือ ธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) และธุรกิจออนไลน์ในลักษณะของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)

4. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศกระจายไปยังผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกและรวดเร็ว ทำให้แต่ละองค์การต่างๆ ได้นำเทคโนโลยีทันสมัยมาประยุกต์เพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีคุณภาพ เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ ให้บริการลูกค้าและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน



ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ

1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

2. ช่วยสร้างทางเลือกในการแข่งขัน

3. ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ

4. ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต
บทที่ 2 การบริหารทรัพยากรคอมพิวเตอร์อาณ์ดแวร์และซอฟต์แวร์

วงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์

มีขั้นตอนการทำงานพื้นฐาน 4 ขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วย การรับข้อมูล การประมวลผล การแสดงผล และการจัดเก็บข้อมูล หรือที่เรียกย่อๆ ว่า IPOS Cycle (Input Process Output Storage Cycle)

1. รับข้อมูล (Input) อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น เมาส์ Mouse สแกนเนอร์ (Scanner) ไมโครโฟน (Microphone) และกล้องดิจิทัล (Digital Camera) เป็นต้น

2. ประมวลผล (Process) เช่น การคำนวณ ภาษี คำนวณเกรดเฉลี่ย

3. แสดงผล (Output) การที่ได้จากการประมวลผลไปยังหน่วยแสดงผล ซึ่งอุปกรณ์ได้แก่ จอภาพ ลำโพง เครื่องพิมพ์

4. จัดเก็บข้อมูล (Storage) คือการจัดเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นซีดีรอม

ประเภทของคอมพิวเตอร์

โดยทั่วไปนิยมจำแนกประเภทคอมพิวเตอร์เป็น 7 ประเภท

1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด มีราคาสูงมาก สามารถประมวลผลได้ถึงพันล้านคำสั่งต่อวินาที ปัจจุบันมีการนำไปใช้กับงานออกแบบชิ้นส่วนรถ งานวิเคราะห์สินค้าคงคลัง การออกแบบงานด้านศิลปะ ฯลฯ

2. คอมพิวเตอร์เมนเฟรมหรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe Computer) มีประสิทธิภาพรองจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายร้อยคนในเวลาเดียวกัน นิยมใช้กับองค์การขนาดใหญ่ที่มีการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้จำนวนมากในเวลาเดียวกัน เช่น ธนาคาร การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียน บริษัทประกัน

3. มินิคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (Minicomputer) หรือเรียกว่า Mid-rang Computer/Sever มีประสิทธิภาพด้านความเร็วน้อยกว่าเมนเฟรม สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้หลายคน ตัวอย่างการใช้งานเช่น การคำนวณทางด้านวิศวกรรม การจองห้องพักโรงแรม งานด้านการบัญชีขององค์การธุรกิจ

4. คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือที่เรียกกันว่า PC (Personal Coomputer)

5. คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค หรือบางครั้งเรียกว่า แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (Laptop Computer) เป็นคอมฯ ที่มีขนาดเล็ก บาง และนำหนักเบา เหมาะแก่การพกพา ใช้กับไฟฟ้ามาตรฐานทั่วไป และแบตเตอรี่

6. Hand-held Personal Computer หรือ Palmtop Computer เป็นคอมฯ ที่มีขนาดเล็กที่สุด หรือที่เรียกกันว่า PDA (Personal Digital Assistant)

7. คอมพิวเตอร์แบบฝัง (Embedded Computer) นิยมนำมาใช้ทำงานเฉพาะด้าน เช่น เครื่องเล่นเกม ระบบเติมน้ำมันอัตโนมัติ โทรศัพท์มือถือ ตู้ร้องคาราโอเกะ



เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ (Hardware)

โดยทั่วไปหมายถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบหลัก 6 ส่วนคือ

1. อุปกรณ์รับข้อมูล (Input Devices)

2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือ ซีพียู (CPU)

3. หน่วยความจำ (Memory)

4. อุปกรณ์แสดงผล (Output Devices)

5. อุปกรณ์การสื่อสาร (Communication Devices)

6. อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง (Storage Devices)



การบริหารทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ให้เหมาะสมต่อการใช้งานในองค์การมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ ผู้บริหารจึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการจัดการทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ให้เกิดการใช้งานให้ได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งในการจัดการกับทรัพยากรไอทีด้านฮาร์ดแวร์นั้นมีประเด็นในการพิจารณาดังนี้

1. จัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกับความจำเป็นและการแข่งขันของธุรกิจ

2. กำหนดมาตรฐานในการจัดซื้อจัดหาทรัพยากรฮาร์ดแวร์

3. จัดทำระบบข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์



เทคโนโลยีซอฟต์แวร์

มีหน้าที่ในการควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ตามผลลัพธ์ที่ต้องการ แบ่งเป็น 2 ประเภท

1. ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งได้ 2 ประเภท

- ระบบปฏิบัติการ เช่น ระบบปฏิบัติการดอส , ลีนุกซ์, windows 98, ME, XP, Vista

- โปรแกรมอรรถประโยชน์ เช่น โปรแกรม Disk Defragmenter , Virus Scan, WinZip

2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือ เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะงานต่างๆ ขององค์การ และมีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาสูง เช่น Microsoft word, power point, Adobe Photoshop, Adobe Pagemaker ฯลฯ



ภาษาโปรแกรม

สามารถแบ่งเป็น 5 ยุคได้ดังนี้

1. ภาษาเครื่อง คือ ภาษาที่ประกอบด้วยเลขฐานสอง (Binary Digits หรือ bits) คือ เลข 0 กับ 1

2. ภาษาแอสแซมบลี (Assembly Language) เป็นการใช้สัญลักษณ์แทนภาษาเครื่อง 0 กับ 1 เช่น PRICE แทนตำแหน่งที่เป็นที่อยู่ของ unit price ซึ่งเดิมเป็นตัวเลข 11001011

3. ภาษาระดับสูง (High-level Languages) หรือภาษาโพรซีเยอร์ เป็นคำสั่งลักษณะเหมือนภาษาอังกฤษ เช่น add แทน คำสั่ง บวก print แทน คำสั่ง พิมพ์ ฯลฯ

4. ภาษาระดับสูงมาก (Very High-level Languages) แตกต่างจากยุคที่สาม โดยไม่ใช้ภาษาโพรซีเยอร์ โดยเพียงเขียนโปรแกรมส่งว่าต้องการอะไร (what) โดยไม่เขียนคำสั่งอธิบายว่าต้องทำอย่างไร (how) จึงเป็นการง่ายกว่าเขียนภาษาในยุคที่สาม (ก็งง..!)

5. ภาษาธรรมชาติ เป็นคำพูดของภาษามนุษย์เป็นโครงสร้างของภาษาอังกฤษ เช่น select first_n, last_n from student where gpa>3.0 แต่เป็นภาษาธรรมชาติ คือ tell me he names of students with gpa over 3.0 ส่วนมากนำไปใช้ประยุกต์กับระบบ ผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)

บทที่ 3 ฐานข้อมูล และคลังข้อมูลโครงสร้างข้อมูล

มีรูปแบบเป็นลำดับชั้นโดยเริ่มจากหน่วยที่เล็กที่สุด คือ

- บิต (Bit) คือหน่วยที่เล็กที่สุด ประกอบด้วยเลขฐานสอง ซึ่งมีสถานะเป็น 0 กับ 1

- ไบต์ (Byte) ประกอบด้วยบิตหลายๆ บิตมาเรียงต่อกัน เช่น นำ 8 บิตมาเรียงกันเป็น 1 ไบต์

- เขตข้อมูล (Field) เป็นการนำข้อมูลหลายอักขระมารวมกันเป็นคำเพื่อให้เกิดความหมาย

- ระเบียนข้อมูล (Record) คือ กลุ่มของเขตข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน ถูกนำมารวมกัน เช่น ระเบียนข้อมูลพนักงาน

- ไฟล์ (File) คือ กลุ่มของระเบียนข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันถูกนำมาจัดเก็บไว้ด้วยกัน



ปัญหาเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล

ความซ้ำซ้อนของข้อมูล (Data Redundancy) การจัดเก็บข้อมูลมากกว่าหนึ่งแห่ง ทำให้ยากที่จะควบคุมถูกต้องตรงกันของข้อมูล

ความผูกพันระหว่างข้อมูลและโปรแกรม (Program-Data Dependence) คือ ความไม่เป็นอิสระของข้อมูล หากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือวิธีการเรียกใช้ข้อมูลย่อมมีผลกระทบต่อโปรแกรม ทำให้ต้องตามแก้โปรแกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาโปรแกรมสูง

การไม่สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ (Lack of Data Sharing) ข้อมูลที่มีการจัดเก็บแยกจากกันโดนแต่ละส่วนงานจัดเก็บข้อมูลเป็นของตนเองทำให้ความซ้ำซ้อนของการใช้ข้อมูลอยู่ในระดับต่ำ ยากต่อการใช้งานร่วมกันได้

การขาดความคล่องตัว (Lack of Flexibility) ขาดการคล่องตัวในการตอบสนองต่อความต้องการใหม่ๆ เนื่องจากแฟ้มข้อมูลไม่สนับสนุนงานในรูปแบบที่ไม่เคยทำเป็นประจำ

การขาดระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี (Poor Security) คือ การกำหนดว่าผู้ใช้รายใดสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในระดับใดได้บ้างจะทำได้ยากโดยการเขียนโปรแกรม วิธีรักษาความปลอดภัยของระบบแฟ้มข้อมูลมีขอบเขตความสามารถค่อนข้างจำกัด



แนวทางในการใช้ฐานข้อมูลในการบริหารจัดการข้อมูล

ลดความซ้ำซ้อน (Minimum Redundancy) การจัดเก็บของแฟ้มข้อมูลเป็นการจัดเก็บข้อมูลเดียวกันไว้หลายแห่ง ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล การนำข้อมูลมารวมกันเพื่อตัดหรือลดส่วนที่ซ้ำกันออกไปจะช่วยลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้

มีความเป็นอิสระของข้อมูล (Data Independence) DBMS ช่วยในการดูแลการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของข้อมูล ทำให้โปรแกรมต่างๆ เป็นอิสระจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของข้อมูล

สนับสนุนการใช้ข้อมูลร่วมกัน (Improved Data Sharing) การจัดเก็บข้อมูลไว้ในส่วนกลางช่วยให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ โปรแกรมประยุกต์ที่จะพัฒนาขึ้นใหม่สามารถใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วได้โดยไม่จำเป็นต้องพิ่มข้อมูลเข้าไปในระบบอีก

มีความคล่องตัวในการใช้งาน (Improved Flexibility) การเก็บข้อมูลในส่วนกลางจะช่วยใหม่มีความคล่องตัวในการใช้งานเพราะมี DBMS โดยทั่วไปจะมีเครื่องมือสนับสนุนในการสร้างแบบฟอร์มและรายงานต่างๆ ซึ่งช่วยลงขั้นตอนและเวลาในการจัดทำ

มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลสูง (High Degree of Data Integrity) ฐานข้อมูลมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดย DBMS จะตรวจสอบรหัสผ่านเข้าสู่ระบบ และจะอนุญาตให้ผู้ที่มีสิทธิเข้ามาในระบบทำการเรียกดูข้อมูลหรือแก้ไขข้อมูลได้เฉพาะสิทธิที่กำหนดในแต่ละคนเท่านั้น



องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล

ระบบฐานข้อมูลประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 4 ส่วน คือ

1. ข้อมูล (Data) ข้อมูลและความสัมพันธ์ของข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในฐานข้อมูล

2. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง

3. ซอฟต์แวร์ (Software) ระบบปฏิบัติการ (Operating Systems) และระบบจัดการข้อมูล (Database Management System : DBMS)

4. ผู้ใช้ (Users) บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูล



รูปแบบของฐานข้อมูล (Database Model)

แบบจำลองฐานข้อมูลลำดับชั้น (Hierarchical Database Model) มีโครงสร้างคล้ายโครงสร้างต้นไม้ (Tree Structure)

1. ข้อมูลมีความสัมพันธ์กันในลักษณะ One-to-Many

2. ข้อมูลจะได้รับการจัดเก็บในรูปของ Segment

3. Segment ที่อยู่บนสุดเรียกว่า Root Node ลงมาเรียกว่า Child Node

4. Node ระดับบนจะเป็น Parent Segment ของ Node

5. ระดับล่างลงมาโดยที่ Parent Segment สามารถมี Child Segment ได้มากกว่าหนึ่ง ในขณะที่ Child Segment จะขึ้นอยู่กับ Parent Segment เดียวเท่านั้น



ข้อดีและข้อจำกัด

เข้าใจง่าย มีความซ้ำซ้อนน้อยและเหมาะกับข้อมูลที่มีการเยงลำดับอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่สามารถรองรับความสัมพันธ์ของข้อมูลในลักษณะ Many-to-Many และการเข้าถึงข้อมูลมีความคล่องตัวน้อย



แบบจำลองฐานข้อมูลเครือข่าย (Network Database Model)

โครงสร้างของข้อมูลที่นำเสนอเป็นลักษณะ Multi-List Structure โดยมีความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นแบบ Many-to-Many โดยที่ Segment สามารถมี Parent ได้มากกว่าหนึ่ง และจะเรียก Parent ว่า Owner ส่วน Child เรียกว่า Member



ข้อดีและข้อจำกัด

ความซ้ำซ้อนของข้อมูลมีน้อยกว่าแบบจำลองฐานข้อมูลลำดับชั้น สามารถเชื่อมโยงข้อมูลแบบไป-กลับได้ โดยใช้พอยน์เตอร์ วิธีนี้จะเปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บพอยน์เตอร์ และยังมีความยุ่งยากอยู่ในการเปลี่ยนแปลโครงสร้างข้อมูลที่มีความซับซ้อน



แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database Model)

แสดงโครงสร้างของข้อมูลในรูปแบบตาราง และเรียกตารางว่า รีเลชัน (Relation) โดยแต่ละรีเลชันประกอบด้วย แถวหรือทัพเพิล (Tuple) และ คอลัมน์ซึ่งเรียกว่า แอตทริบิวต์ (Attribute) ในแต่ละรีเลชันจะมีแอตทิรบิวต์หรือกลุ่มของแอตทริบิวต์ ซึ่งเรียกว่า คีย์ (Key)



ข้อดีและข้อจำกัด

มีโครงสร้างที่เข้าใจง่ายกว่าฐานข้อมูลอื่นๆ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเข้าใจถึงโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลทางกายภาพ ข้อมูลมีความเป็นอิสระจากโปรแกรม แต่ต้องใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพสูง



ระบบข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Database)

ข้อมูลจัดเก็บไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องตามพื้นที่ต่างๆ แทนที่จะเก็บไว้ที่ส่วนกลางเพียงแห่งเดียว เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงาน โดยเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านี้สามารถสื่อสารถึงกันได้



ข้อดีและข้อจำกัด

ข้อมูลสอดคล้องกับลักษณะการใช้งานจริง ทำให้สามารถเรียกใช้ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว แต่ข้อมูลแบบกระจายจะมีความซับซ้อนในการประมวลผลเพื่อเรียกใช้ข้อมูล การฟื้นสภาพ และการออกแบบฐานข้อมูลมากกว่าระบบฐานข้อมูลแบบรวม



ฐานข้อมูลแบบออบเจ็กต์ (Object-Oriented Database)

เรียกว่า ฐานข้อมูลเชิงวัตถุเกิดจากแนวคิดการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-Oriented Program :OOP) เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในการจัดเก็บข้อมูลที่มีความสลับซับซ้อน มีขนาดใหญ่ และมีความหลากหลายมากกว่าเดิม เช่น ข้อมูลเสียง รูปภาพ และ วีดิทัศน์



ข้อดีและข้อจำกัด

สามารถเก็บข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ข้อมูลวัตถุ และข้อมูลมัลติมีเดียได้ง่าย แต่การประมวลผลรายการ ข้อมูลทั่วไปจะไม่รวดเร็วเท่ากับระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์



คลังข้อมูล (Data Warehouse)

คือ ที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งและหลากหลายชนิด เข้าด้วยกัน เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ขององค์การ โดยข้อมูลในคลังข้อมูลอาจได้มาจากฐานข้อมูลของระบบปฏิบัติการในองค์การ และฐานข้อมูลจากแห่งภายนอกองค์การ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะได้รับการเลือก, กลั่นกรอง และปรับแก้ไขทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน



ดาต้ามาร์ท (Data Mart)

คือ คลังข้อมูลขนาดเล็กที่มีลักษณะเจาะจง สำหรับใช้ในองค์การธุรกิจ มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าคลังข้อมูล และการจัดทำข้อมูลดาต้ามาร์ท ใช้เวลาที่สั้นกว่าคลังข้อมูล และการนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจภายในหน่วยงาน สะดวกกว่าการใช้คลังข้อมูล



ธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence : BI)

คือ การใช้ข้อมูลขององค์การที่มีคุณค่ามาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการดำเนินงานของธุรกิจ ซึ่งโดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับการเข้าใช้งานข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการค้นพบโอกาสใหม่ๆ ในการดำเนินการทางธุรกิจ

การวิเคราะห์ข้อมูลหลายมิติและการค้นหาความรู้ในคลังข้อมูล

มี 2 ประเภท

1. การประมวลผลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์ (OLAP) เป็นเครื่องมือที่สามารถในการค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลจากคลังข้อมูลเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว

2. ดาต้าไมนิ่ง (Data Mining) เป็นเครื่องมือและเทคนิคในการสกัด (Extract) ข้อมูลและประมวลผลข้อมูลในเชิงวิเคราะห์ขั้นสูงจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ โดยสามารถค้นหารูปแบบ แนวโน้ม พฤติกรรม และความสัมพันธ์ที่ซ้อนเร้นอยู่ภายในข้อมูลเพื่อให้ความรู้ใหม่ๆ



ความแตกต่างระหว่างคลังข้อมูลกับฐานข้อมูลปฏิบัติการ

ฐานข้อมูลปฏิบัติการ (Operational Database) เป็นระบบที่นำมาช่วยในการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลรายการธุรกรรมจาการดำเนินงานประจำวัน ซึ่งแหล่งข้อมูลเหล่านี้นับวันจะเพิ่มปริมาณมากขึ้น จึงจำเป็นต้องจัดเก็บข้อมูลในอดีตลงในสื่อบันทักข้อมูลที่แยกเก็บต่างหาร เช่น จัดเก็บในเทป หรือ ดิสก์ที่มีความจุสูง

คลังข้อมูล เป็นแหล่งเก็บข้อมูลรวมข้ององค์การ ที่ได้รับการออกแบบมาให้มีความเรียบง่ายต่อการค้นหาและเรียกใช้ได้อย่างรวดเร็ว สามารถรองรับการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีปริมาณมาก โดยข้อมูลมีการจัดเก็บในลักษณะที่รวบรวมจัดเก็บเป็นระเบียบตามเนื้อหา และแปรผันตามเวลา ซึ่งข้อมูลในคลังข้อมูลไม่สามารถซ้ำซ้อนได้ นำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานให้กับระบบงานเพื่อการบริหารอื่นๆ


บทที่4 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์




เทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานทางธุรกิจโดยมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการดังนี้

1. เพื่อการสื่อสารทางธุรกิจที่ดีขึ้น

2. เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

3. เพื่อการกระจายข้อมูลที่ดีขึ้น

4. เพื่อการจัดการกระบวนการธุรกิจที่สะดวกขึ้น



องค์ประกอบของการสื่อสาร

1. ผู้ส่งข้อมูล (Sender) ทำหน้าที่ส่งข้อมูล

2. ผู้รับข้อมูล (Receiver) ทำหน้าที่รับข้อมูล

3. ข้อมูล (Data) ข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลต้องการส่งไปยังผู้รับข้อมูล อาจอยู่ในรูปของข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว

4. สื่อนำข้อมูล (Medium) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขนถ่ายข้อมูล เช่น สายเคเบิล ใยแก้วนำแสง อากาศ

5. โปรโตคอล (Protocol) กฎหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบตามวิธีการสื่อสารที่ตกลง กันระหว่าง ผู้ส่งข้อมูล กับ ผู้รับข้อมูล



การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร

การสื่อสารข้อมูลในยุคปัจจุบัน ได้ตะหนักถึง ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารมาช่วยงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ซึ้งการประยุกต์เทคโนโลยีการสื่อสารในองคืการมีดังนี้



ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail)

การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และพีดีเอ ส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคคลอื่น โดยการสื่อสารนี้บุคคลที่ทำการสื่อสารจะต้องมีชื่อและที่อยู่ในรูปแบบอีเมลแอดเดรส



โทรสาร (Facsimile หรือ Fax)

เป็นการส่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็นข้อความที่เขียนขึ้นด้วยมือหรือการพิมพ์ รูปภาพ หรือกราฟต่างๆ จากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่มีอุปกรณ์ที่เรียกว่าแฟกซ์-โมเด็มไปยังเครื่องรับโทรสาร การส่งข้อความในลักษณะนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการส่งข้อมูลผ่านเครื่องโทรสารธรรมดา



วอยซ์เมล (Voice Mail)

เป็นการส่งข้อความเป็นเสียงพูดให้กลายเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสารข้อความจะถูกบันทึกไว้ในอุปกรณ์บันทึกเสียงที่เรียกว่าวอยซ์เมลบ็อกซ์ เมื่อผ็รับเปิดฟังข้อความดังกล่าวก็จะถูกแปลงกลับไปอยู่ในรูปแบบของเสียงพูดตามเดิม



การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conferencing)

เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้ การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประชุม



การระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม(Global Positioning Systems : GPSs)

เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบ การวิเคราะห์ตำแหน่งทำได้โดยใช้ดาวเทียมระบุตำแหน่ง ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบินและเริมพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย



กรุ๊ปแวร์(groupware)

เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สามารถทำงานร่วมกัน การใช้ทรัพยากรและสารสนเทศร่วมกันโดยผ่านระบบเครือข่าย



การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund Transfer : EFT)

ปัจจุบันผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย กิจกรรมที่ประยุกต์ใช้กันเป็นประจำ ได้แก่ การโอนเงินผ่านทางตู้ ATM



การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange : EDI)

เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเองกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล เช่น การส่งใบสั่งสินค้า ใบส่งของ ใบเรียกเก็บเงิน



การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID)

เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์



ชนิดของสัญญาณข้อมูล

1. สัญญาณแอนะล็อก(Analog Signal)

เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (Sine Wave) โดยที่แต่ละคลื่นจะมีความถี่และความเข้มของสัญญาณที่ต่างกัน เมื่อนำสัญญาณข้อมูลเหล่านี้มาผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณและแปลงสัญญาณและแปลงสัญญาณก็จะได้ข้อมูลที่ต้องการ



เฮิรตซ์ (Hertz) คือหน่วยวัดความถึ่ของสัญญาณข้อมูลแบบแอนะล็อก วีธีวัดความถึ่จะนับจำนวนรอบของสัญญาณที่เกิดขึ้นภายใน 1 วินาที เช่น ความถึ่ 60 Hz หมายถึง ใน 1 วินาที สัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณ 60 รอบ



2. สัญญาณดิจิทัล(Digital Signal)

สัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง รูปสัญญาณของสัญญาณมีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปะติดปะต่ออย่างสัญญาณแอนะล็อก ในการสื่อสารด้วยสัญญาณดิจิทัล ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเลขฐานสอง (0และ1) จะถูกแทนด้วยสัญญาณดิจิทัล



Bit Rate เป็นอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล วิธีวัดความเร็วจะนับจำนวนบิตข้อมูลที่ส่งได้ในช่วงระยะเวลา 1 วินาที เช่น 14,400 bps หมายถึง มีความเร็วในการส่งข้อมูลจำนวน 14,4001 บิตในระยะเวลา 1 วินาที



โมเด็ม(Modulator DEModulator หรือ Modem)

โมเด็ม(Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลของโมเด็มวันเป็นบิตต่อวินาที (bit per second หรือ bps) ความเร็วของโมเด็มโดยทั่วไปมีความเร็วเป็น 56 กิโลบิตต่อวินาที



ทิศทางการส่งข้อมูล(Transmission Mode) สามารถจำแนกทิศทางการส่งข้อมูลได้ 3 รูปแบบ

1. การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission)

2. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-Duplex Transmission)

3. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-Duplex Transmission)



ตัวกลางการสื่อสาร

1. สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย(Wired Media) สื่อข้อมูลแบบมีสายที่นิยมใช้มี 3 ชนิดดังนี้

- สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable)

สายคู่บิดเกลียว เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า สายแต่ละเส้นมีลักษณะคล้ายสายไฟทั่วไป จำนวนสายจะมีเป็นคู่ เช่น 2 , 4 หรือ 6 เส้น แต่ละคู่จะมีพันบิดเกลียว การบิดเกลียวนี้จะช่วยลดสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในการส่งข้อมูล ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่าปกติ

- สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)

สายโคแอกเชียล เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า มีความถี่ในการส่งข้อมูลประมาณ 100 MHz ถึง500 MHz สายโคแอกเชียลมีความมเร็วในการส่งข้อมูลและราคาสูงกว่าสายบิดเกลียว

- สายใยแก้วนำแสง(Optical Fiber Cable)

สายสัญญาณทำจากใยแก้วหรือสารนำแสงหุ้มด้วยวัสดุป้องกันแสง มีความเร็วในการส่งสูงกับความเร็วแสง สามารถใช้ในการส่งข้อมูลที่มีความถี่สูงได้ สัญญาณที่ส่งผ่านสายใยแก้วนำแสง คือ แสง และ สัญญาณรบกวนจากภายนอกมีเพียงอย่างเดียว คือ แสงจากภายนอก



2. สื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย(Wireless Media) การสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย จะใช้อากาศเป็นตัวกลางของการสื่อสาร เช่น

- แสงอินฟราเรด (Infrared) เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยใช้แสงอินฟราเรดเป็นสื่อกลาง การสื่อสารประเภทนี้นิยมใช้สำหรับการสือสารข้อมูลระยะใกล้ เช่น การสื่อการจากรีโมทคอนโทรลไปยังเครื่องรับวิทยุหรือโทรทัศน์

- สัญญาณวิทยุ (Radio Wave) เป็นสื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Media) ที่มีการส่งข้อมูลเป็นสัญญาณคลื่อนวิทยุไปในอากาศไปยังตัวรับสัญญาณ

- ไมโครเวฟภาคพื้นดิน (Terrestrial Microwave) เป็นการสื่อสารไรสายอีกประเภทหนึ่ง การสื่อสารประเภทนี้จะมีเสาส่งสัญญาณไมโครเวฟที่อยู่ห่างๆ กัน ทำการส่งข้อมูลไปในอากาศไปยังเสารับข้อมูล

- การสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Communication) เป็นการสื่อสารจากพื้นโลกที่มีการส่งสัญญาณข้อมูลไปยังดาวเทียม โดยดาวเทียมจะทำหน้าที่เป็นสถานีทวนสัญญาณ เพื่อจัดส่งสัญญาณต่อไปยังสถานีภาพพื้นดินอื่นๆ ระยะทางจะโลกถึงดาวเทียมประมาณ 22,000 ไมล์



หลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกสื่อนำข้อมูล

1. ราคา

2. ความเร็ว

3. ระยะทาง

4. สัญญาณรบกวนที่อาจจะเกิดขึ้น

5. ความปลอดภัยของข้อมูล



มาตรฐานเครื่อข่ายไร้สาย (Wireless Networking Protocols)

1. บลูทูธ (Bluetooth)

2. ไวไฟ (Wi-Fi)

3. ไว-แมกซ์ (Wi-MAX)

บทที่ 5

อินเทอร์เน็ตและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์



อินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึงกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมต่อสื่อสารด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครือข่ายขึ้นไปที่เชื่อมต่อกัน

ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต จากปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จึงทำให้เกิดโครงการอาร์พาเน็ต ซึ่งเป็นหน่วยงานย่อยในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา โครงการอาร์พาเน็ตได้เริ่มขึ้นโดยเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ระหว่างสถาบัน 4 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนแจลิส มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตา บาร์บารา มหาวิทยาลัยยูทาห์ และสถาบันวิจัยสแตนฟอร์ต

อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียได้ติดต่อขอใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ในปี พ.ศ.2530 โดยความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลีย ตามโครงการ IDP ในปี พ.ศ. 2535 ได้จัดตั้งเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายยูยูเน็ต ในปีเดียวกัน ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติได้จัดตั้งเครือข่ายไทยสาร ซึ่งต่อมาได้ต่อเครือข่ายของยูยูเน็ต และในปัจจุบันไทยสารได้เชื่อมโยงกับสถาบันต่างๆ ในปี พ.ศ. 2537 การสื่อสารแห่งประเทศไทยได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชนเปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่บุคคลและผู้สนใจทั่วไปได้สมัครเป็นสมาชิก ที่เรียกกันว่า ไอเอสพี

การแทนชื่อที่อยู่ของอินเทอร์เน็ต (Internet Address) เครื่องคอมพิวเตอร์จำเป็นที่ต้องมีหมายเลขประจำตัว เรียกว่า หมายเลขไอพี ซึ่งประกอบด้วยชุดของตัวเลข 4 ชุด ขนาด 8 บิต ในการอ้างอิงถึงหมายเลขไอพีนิยมแปลงเลขฐานนิยมทั้ง 4 ชุด เพื่อความสะดวกในการจำและป้อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์ เนื่องจากหมายเลขไอพีนั้นจดจำยาก ดังนั้นจึงได้มีการกำหนดชื่อเพื่อใช้แทนหมายเลขไอพี เรียกว่า ระบบชื่อโดเมน

การเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต สามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้มี 2 วิธี คือ การเชื่อมต่อโดยตรง โดย ผู้ใช้จะต้องมีคอมพิวเตอร์เครือข่ายที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายหลักหรือแบ็กโบน เป็นการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา เสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งค่อนข้างสูง ข้อดีก็คือ การรับ-ส่งข้อมูลจะสามารถทำได้โดยตรง รับ-ส่งข้อมูลได้เร็วและมีความน่าเชื่อถือ ส่วนอีกวิธีคือ การเชื่อมต่อโดยผ่านโทรศัพท์และโมเด็ม เป็นการเชื่อมต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ โดยจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ติดต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เครือข่ายโดยใช้อุปกรณ์แปลงสัญญาณที่เรียกว่า โมเด็ม ข้อดีของการเชื่อมต่อประเภทนี้ ค่าใช้จ่ายจะต่ำกว่าการเชื่อมต่อโดยตรง เนื่องจากมีการเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการเช่าคู่สายโทรศัพท์ไปยังต่างประเทศ

เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web หรือ WWW) ในช่วงแรกๆ การบริการข้อูลข่าวสารจะส่งถึงกันบนโปโตคอล Telnet และจะใช้ FTP (File Transfer Protocol) เพื่อการแลกเปลี่ยนส่งไฟล์ ต่อมาได้พัฒนาโปรแกรมเพื่อให้อินเทอร์เน็ตใช้งานได้ง่ายขึ้น และช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างเอกสารบนอินเทร์เน็ตที่เรียกว่า เว็บเพจ (Web Pages) ที่สามารถเชื่อมโยง (Link) ไปยังเอกสารที่เกี่ยวข้องกันได้ การเชื่อมโยงเอกสารนี้เรียกว่า (Hyperlinks) และเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า World Wide Web (WWW)

โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ (Web Browser) คือโปรแกรมที่ใช้แสดงข้อมูลของเว็บเพจ โปรแกรมเว็บเบราเซอร์แรกเป็นโปรแกรมที่สั่งโดยใช้ข้อความ และแสดงผลในรูปของข้อความเท่านั้น ต่อมาได้สร้างโปรแกรมรูปแบบกราฟิก เป็นโปรแกรมที่สามารถแสดงเอกสารที่อยู่ในลักษณะของข้อความและภาพกราฟิก

การบริการต่างๆบนอินเตอร์เน็ต มีหลายชนิด เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์, การสนทนาออนไลน์, เทลเน็ต, การขนถ่ายไฟล์ รวมทั้งการทำธุรกรรมทุกรูปแบบผ่านอินเทอร์เน็ตเรียกว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( E-Commerce) บางครั้งเรียกกันว่า การค้าอิเล็กทรอนิกส์ คือการทำธุรกรรมทุกรูปแบบ (การซื้อขายสินค้า บริการ การชำระเงิน การโฆษณา และการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน์ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีด้วยกัน 5 ประเภท คือ ธุรกิจกับธุรกิจ B2B, ธุรกิจกับลูกค้า B2C, ธุรกิจกับภาครัฐ B2G, ลูกค้ากับลูกค้า C2C, ภาครัฐกับประชาชน G2C

โครงสร้างระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย หน้าร้าน, ระบบตะกร้ารับคำสั่งซื้อ, ระบบการชำระเงิน,ระบบสมัครสมาชิก, ระบบขนส่ง, ระบบติดตามคำสั่งซื้อ และ กระบวนการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย การค้นหาข้อมูล, การสั่งซื้อสินค้า, การชำระเงิน, การส่งมอบสินค้า, การให้บริการหลังการขาย
บทที่ 6

บทบาทของระบบสารสนเทศในองค์การ



การบริหารงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้นั้น ผู้บริหารจำเป็นต้องอาศัยการบริหารที่เป็นระบบและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมขององค์การ ผู้บริหารจะต้องใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้น ข้อมูลและสารสนเทศ นับเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อการวางแผนปฏิบัติงานและการควบคุมเพื่อให้เกิดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์

องค์การและสิ่งแวดล้อมตามความหมายทางเทคนิค หมายถึง โครงสร้างทางสังคมอย่างเป็นทางการที่มีความมั่นคง โดยรับเอาทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมมาผ่านกระบวนการเพื่อสร้างหรือผลิตผลลัพธ์ เน้นองค์ประกอบขององค์การ 3 ส่วน คือ

1.) ปัจจัยหลักด้านการผลิต

2.) กระบวนการผลิต

3.) ผลผลิต

ระบบสารสนเทศสามารถถูกนำมาเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการดำเนินงานขององค์การ บางระบบอาจเปลี่ยนแปลงความสมดุลทางสิทธิ ภาระหน้าที่ และความรับผิดชอบที่เคยมี ในขณะเดียวกันองค์การเองก็มีผลกระทบต่อการออกแบบระบบสารสนเทศ และเป็นผลกระทบต่อระบบสารสนเทศต่อองค์การ คือ 1) ลดระดับขั้นตอนของการจัดการ 2) มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน 3) ลดขั้นตอนการดำเนินงาน 4) เปลี่ยนแปลงกระบวนการจัดการ 5) กำหนดขอบเขตการดำเนินงานใหม่

ระบบสารสนเทศที่เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายช่วยให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างองค์การได้ และมีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์การและคู่ค้าซึ่งเป็นการกำหนดขอบเขตการดำเนินงานใหม่

เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตได้กลายมาเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานที่ถูกนำมาสร้างเป็นโครงสร้างของระบบสารสนเทศภายในองค์การ ระบบอินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วและส่งเสริมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

เพื่อใช้ในการสร้างช่องทางการตลาด การขาย และให้การสนับสนุนลูกค้า

องค์การเสมือนจริง เป็นรูปแบบขององค์การแบบใหม่ ซึ่งเป็นเครือข่ายขององค์การที่เชื่อมโยงกันด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแลกเปลี่ยนทักษะ ลดต้นทุน สร้างและกระจายสินค้าและบริการ ลักษณะขององค์การเสมือนจริงประกอบด้วย

1) มีขอบเขตขององค์การไม่ชัดเจน

2) ใช้เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม

3) มีความเป็นเลิศ

4) มีความไว้วางใจ

5) มีโอกาสทางตลาด

ระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ โดยทั่วไปจำแนกออกเป็น

1) ผู้ปฏิบัติงาน

2) ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ

3) ผู้บริหารระดับกลาง

4) ผู้บริหารระดับสูง

ระบบสารสนเทศสามารถจัดแบ่งประเภทได้ดังนี้

1. ระบบสารสนเทศจำแนกตามประเภทของธุรกิจ โดยทั่วไป จะเป็นระบบสารสนเทศขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยระบบสารสนเทศที่จำแนกตามหน้าที่ย่อยๆหลายระบบตัวอย่างเช่น ระบบสารสนเทศงานบริหารโรงแรม ประกอบด้วยระบบสารสนเทศย่อย ได้แก่ ระบบสำรองห้องพัก ระบบบัญชี ระบบจัดการห้องพัก และระบบบริหารงานบุคคล

2. ระบบสารสนเทศจำแนกตามหน้าที่ของงาน ซึ่งแต่ละระบบสามารถประกอบด้วยระบบสารสนเทศย่อยๆ ที่เป็นกิจกรรมของงานหลัก เช่น ระบบสารสนเทศจัดการทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วยระบบย่อย ได้แก่ ระบบจัดการข้อมูลพนักงาน ระบบการสรรหาและคัดเลือก ระบบฝึกอบรม ระบบประเมินผล และระบบสวัสดิการ

3. ระบบสารสนเทศจำแนกตามลักษณะการดำเนินงาน ผู้บริหารในองค์การระดับที่แตกต่างกัน มีความต้องการในการใช้ระบบสารสนเทศที่แตกต่างกัน ดังนั้นระบบสารสนเทศจึงได้ถูกออกแบบให้มีความสอดคล้องกับลักษณะงานและระดับของผู้ใช้งานเพื่อให้สอดคล้องกับการนำสารสนเทศไปใช้ประกอบการบริหารและตัดสินใจ

โดยทั่วไประบบสารสนเทศที่อิงคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 6 ประเภท

1. ระบบสารสนเทศประมวลผลธุรกรรม (Transaction Processing Systems: TPS) เป็นระบบที่มีการประมวลผลที่รวดเร็ว ลดค่าใช้จ่าย และ ทำหน้าที่รวบรวม บันทึกข้อมูลในแฟ้มข้อมูล หรือฐานข้อมูล และประมวลผลข้อมูลที่เกิดจากการทำธุรกรรมและการปฏิบัติงานประจำ ขององค์การเพื่อนำไปจัดทำระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้นๆ การประมวลผลข้อมูลของ TPS แบ่งเป็น 2 ประเภท 1) การประมวลผลแบบกลุ่ม 2) การประมวลผลแบบทันที

2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems : MIS) จัดทำรายงานในรูปแบบที่แตกต่างกัน สามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ 1) รายงานที่จัดทำตามระยะเวลาที่กำหนด 2) รายงานสรุป 3) รายงานที่จัดทำตามเงื่อนไขเฉพาะ 4) รายงานที่จัดทำตามต้องการ

3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems : DSS) เป็นระบบสารสนเทศที่นำข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ มาใช้ในการตัดสินใจ โดยปกติแล้ว TPS และ MIS จะจัดทำรายงานสำหรับควบคุมและกำกับดูแลการปฏิบัติงานทั่วๆไป เพื่อให้องค์การดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง

4. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems :EIS หรือ Executive Support Systems : ESS) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาแนวโน้ม และการวาวงแผนกลยุทธ์ ผู้บริหารสามารถเข้าถึงสารสนเทศโดยกำหนดมุมมองได้ในรูปแบบต่างๆ จึงเป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวสูง

5. ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) และระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems : ES) เป็นความพยายามที่จะพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ให้สามารถปฏิบัติงานเหมือนกับมนุษย์หรือเลียนแบบการทำงานของมนุษย์ AI มีหลายสาขา เช่น การประมวลผลภาษาธรรมชาติ ศาสตร์ด้านหุ่นยนต์ ระบบการมองเห็น ระบบการเรียนรู้ เครือข่ายเส้นประสาท และระบบผู้เชี่ยวชาญ

6. ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information Systems : OIS) หรือ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems : OAS) เป็นระบบสารสนเทศที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหาร ซึ่ง OIS สามารถนำมาช่วยงานในหลายๆ กิจกรรม เช่น การจัดทำเอกสาร รายงาน จดหมายธุรกิจ การส่งข้อความ การบันทึกตารางนัดหมาย และการค้นหาข้อมูลจากเว็บเพจ
บทที่7

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ



การตัดสินใจเป็นบทบาทของผู้บริหารที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจขององค์การการมีสารสนเทศที่ดีและเครื่องมือในการเข้าถึงข้อมูล รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถพิจารณาทางเลือกต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าและแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในที่นี้จึงกล่าวถึงระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(Decision Support System: DSS) ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร



ระดับของการจัดการสามารถแบ่งได้3ระดับ คือ

1) การจัดการระดับสูง(Upper-level management) เป็นสารสนเทศที่มีขอบเขตกว้างและเกี่ยวกับแนวโน้มต่างๆ จากภายในและภายนอกองค์การการจัดการระดับนี้ใช้สำหรับผู้บริหารระดับสูง เช่น ประธานบริษัท และกรรมการผู้จัดการ

2) การจัดการระดับกลาง(Middle-level Management) เป็นการวางแผนยุทธวิธีและประสานงานระหว่างผู้บริหารระดับสูงและผู้บริหารงานระดับต้นหรือหัวหน้างาน ระบบนี้ใช้สำหรับผู้บริหารระดับกลาง เช่น ผู้อำนวยการ ผู้จัดการฝ่าย

3) การจัดการระดับต้น(Lover-level Management)มีหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานประจำวันซึ่งขั้นตอนการทำงานมีรูปแบบที่แน่นอนและทำงานใกล้ชิดกับผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้การทำงานเป็นไปตามแผนของผู้บริหารระดับกลางระบบนี้ใช้สำหรับผู้บริหารระดับต้น เช่น หัวหน้างาน, หัวหน้าแผนก



การตัดสินใจ(Decision Making) ประกอบด้วย5ขั้นตอนคือ

1)การใช้ความคิดประกอบเหตุผลเป็นการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์ ตรวจสอบแยกแยะและกำหนดระยะละเอียดของปัญหาหรือโอกาส

2)การออกแบบเป็นขั้นตอนในการพัฒนาวิเคราะห์ทางเลือกในการปฏิบัติที่เป็นไปได้

3)การคัดเลือกเป็นขั้นตอนที่ผู้ตัดสินใจจะเลือกแนวทางเลือกที่เหมาะสมกับปัญหาและสถาณการณ์มากที่สุด

4)การนำไปใช้เป็นขั้นตอนที่นำผลการตัดสินใจแล้วนำไปปฏิบัติและติดตามผลของการปฏิบัติว่ามีประสิทธิภาพหรือมีข้อขัดข้องประการใดและจะต้องนำไปปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์อย่างไร

5)การตรวจสอบประสิทธิภาพในการตัดสินใจ เป็นการตรวจสอบผลที่เกิดขึ้นหลังจากตัดสินใจว่าเป็นอย่างไรหากมีข้อผิดพลาดสามารถเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจเพื่อหาเลือกเลือกใหม่อีกครั้ง



การตัดสินใจสามารถถูกจำแนกให้สอดคล้องกับระดับของการจัดการได้3ระดับคือ

1)การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง ทีให้ความสนใจในอนาคต เช่นการกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การ การกำหนดนโยบายและวางแผนระยะยาว

2) การตัดสินใจเชิงยุทธวิธีเป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลางเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของผู้บริหารระดับสูงที่กำหนดไว้

3) การตัดสินใจเชิงปฏิบัติเป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับปฏิบัติการหรือหัวหน้างาน เช่นการตัดสินใจในกระบวนการสั่งซื้อ การควบคุมสินค้าคงคลัง



ประเภทของการตัดสินใจจัดเป็น3รูปแบบ คือ

1)การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง(Structured Decision) เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับล่าง คือมีขั้นตอนหรือกระบวนในการแก้ปัญหาที่แน่ชัดและเป็นโครงสร้างการตัดสินในเชิงน่าจะเป็น เช่น การสั่งซื้อสินค้าคงคลังซึ่งสามารถทราบการคำนวณจุดสั่งซื้อและทำการสั่งซื้อเมื่อจำนวนสินค้าต่ำกว่าระดับที่กำหนด

2) การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง(Semi-structured Decision) เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง คือสามารถระบุกระบวนการหรือวิธีการตัดสินใจได้ล่วงหน้าในบางส่วนแต่ไม่มากพอที่จะนำไปตัดสินใจได้อย่างแน่นอนอีกส่วนหนึ่งจะต้องใช้ประสบการณ์และวิจารณญาณของผู้ตัดสินใจหรืออาจต้องอาศัยโมเดลต่างๆ ประกอบเพื่อช่วยให้การตัดสินใจมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การซื้อขายหุ้นการประเมินผลด้านเครดิต

3)การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง(Unstructured Decision) เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงซึ่งเป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่ไม่สามารถกำหนดกระบวนการตัดสินใจได้ล่วงหน้าเช่น การคัดเลือกผู้บริหารเข้าทำงาน การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่



ส่วนประกอบของระบบDSS ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก3ส่วน

1)ส่วนจัดการข้อมูล (Data Management Subsystem) ประกอบด้วยฐานข้อมูล ระบบจัดการฐานข้อมูล ส่วนสอบถามข้อมูลสารบัญข้อมูล ส่วนการดึงข้อมูล ระบบDSSอาจเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลขององค์การหรือคลังข้อมูลเพื่อดึงหรือกรองข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในการตัดสินใจ

2)ส่วนจัดการโมเดล(Model Management Subsystem) ประกอบด้วยฐานแบบจำลอง, ระบบจัดการแบบจำลอง, ภาษาแบบจำลอง, สารบัญแบบจำลอง, และส่วนดำเนินการแบบจำลอง

3)ส่วนจัดการโต้ตอบ(Dialogue Management Subsystem) เป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับระบบเพื่อให้การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้กับระบบเป็นไปด้วยความสะดวกและง่ายต่อการใช้งาน



ส่วนจัดการความรู้(Knowledge-based Management Subsystem) DSSขั้นสูงจึงจะมีส่วนที่เรียกว่าส่วนจัดการองค์ความรู้



ประเภทของระบบDSSจำแนกออกเป็น2ประเภท

1)ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ใช้รูปแบบเป็นหลัก(Model-drivenDSS) เป็นระบบจำลองสถานการณ์ และรูปแบบการวิเคราะห์ต่างๆ

2)ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ใช้ข้อมูลเป็นหลัก(Data-drivenDSS) เป็นระบบท่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถดึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากต่างๆเพื่อนำมาวิเคราะห์ต่างๆ เช่น โมเดลบัญชี



ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่ม (Group Decision Support System: GDSS) เป็นระบบแบบโต้ตอบที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจร่วมกันของกลุ่มบุคคล

ส่วนประกอบของ GDSS

1) อุปกรณ์ (Hardware)

2) ชุดคำสั่ง (Software)

3) ฐานแบบจำลองของระบบ GDSS (Model Base)

4) บุคลากร (People>
บทที่ 8

ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง


บทบาทของผู้บริหาร

1) บทบาทในการสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดี ผู้บริหารควรมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์การ

2) บทบาททางด้านข้อมูลข่าวสารผู้บริหารควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้รับก่อนการเผยแพร่ออกสู่ภายนอกเพื่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์การ

3) บทบาททางด้านการตัดสินใจของผู้บริหารควรมีความสามารถในการตัดสินใจในการคาดการณ์ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ และสามารถควบคุมสถานการณ์หรือแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและทันต่อเหตุการณ์



ลักษณะข้อมูลสำหรับผู้บริหารระดับสูง

ข้อมูลของผู้บริหารระดับสูงได้มาจากแหล่งภายในและภายนอกองค์การทีมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ข้อมูลเหล่านี้ควรนำมากลั่นกรองและคัดเลือกก่อนที่จะนำมาวิเคราะห์ทั้งในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ



ข้อมูลของผู้บริหารระดับสูง

1) ข้อมูลภายในองค์การ โดยได้จากการดำเนินงาน เช่น การปฏิบัติงาน การควบคุม การตรวจสอบ และ ข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงเป้าหมายหรือผลการดำเนินงาน เช่น งบประมาณ แผนการค่าใช้จ่าย ประมาณการรายได้ แผนด้านการเงิน

2) ข้อมูลภายนอกองค์การ ซึ่งข้อมูลนี้มีเกี่ยวข้อง หรือมีผลกระทบต่อองค์การ เช่น การแข่งขัน เศรษฐกิจ ความต้องการลูกค้า

3) ข่าวสารที่ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ควรเป็นข้อมูลที่สรุปได้ใจความ มีรูปแบบที่ง่ายต่อการเข้าใจ ทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์



ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Support System: ESS) เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง เป็นสารสนเทศที่ไม่มีโครงสร้าง อำนวยความสะดวกรวดเร็ว ง่ายต่อการเข้าใจ ทันสมัย และเป็นระบบที่ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนด เป้าหมาย กลยุทธ์ วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การ



ลักษณะของระบบ ESS

1) ให้สารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อการวางแผนเชิงกลยุทธ์

2) ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน

3) เชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลภายนอก

4) สามารถประมวลผลในรูปแบบที่ไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า

5) พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร

6) มีระบบรักษาความปลอดภัย



ความสำคัญของผู้บริหารต่อการพัฒนาระบบ ESS

ระบบ ESS เป็นระบบที่จัดทำขึ้นสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ และช่วยผลักดันและสนับสนุนด้านทรัพยากรต่างๆ ผู้บริหารควรมีความรู้ความเข้าใจและมองเห็นประโยชน์ของการนำสารสนเทศที่ได้จากระบบ ESS ไปใช้ ซึ่งการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในองค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นจะต้องมีการวางแผลกลยุทธ์สารสนเทศที่ดีสอดคล้องกับนโยบายและแผนกลยุทธ์ขององค์การ โดยการวงแผนกลยุทธ์สารสนเทศจะดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับผู้บริหารระดับสูง

บทที่ 9

ปัญญาประดิษฐ์ ระบบผู้เชี่ยวชาญและระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์


ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) คือ ศาสตร์แขนงหนึ่งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีพื้นฐานมาจากวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ชีววิทยา จิตวิทยา ภาษาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ เป้าหมายคือ การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีพฤติกรรมเลียนแบบมนุษย์ รวมทั้งเลียนแบบความเป็นอัจฉริยะของมนุษย์



ลักษณะงานของปัญญาประดิษฐ์

1. Cognitive Science

งานด้านนี้เน้นงานวิจัยเพื่อศึกษาว่าสมองของมนุษย์ทำงานอย่างไร และมนุษย์คิดและเรียนรู้อย่างไร จึงมีพื้นฐานที่การประมวลผลสารสนเทศในรูปแบบของมนุษย์ประกอบด้วยระบบต่างๆ

- ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems) ระบบนี้จะพยายามลอกเลียนแบบความสามารถของผู้เชียวชาญที่เป็นมนุษย์ในการแก้ปัญหาต่างๆ

- ระบบเครือข่ายนิวรอน (Neural Network) ถูกออกแบบให้เลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ ทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์

- ระบบแบ๊บแน็ต (Papnet) เป็นระบบที่ใช้ในการแยกความแตกต่าง เช่น แยกความแตกต่างของเซลล์มนุษย์

- ฟัสซี่โลจิก (Fuzzy Logic) เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับการใช้กฎพื้นฐาน และสามารถทำงานกับข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ หรือกำกวม หรือค่าไม่เที่ยงตรง หรือไม่แน่นอนได้ ซึ่งระบบจะพยายามหาคำตอบให้กับปัญหาที่ไม่มีโครงสร้าง ด้ายการพิจารณากาข้อมูลเท่าที่มีเท่านั้น ระบบนี้ใช้วิธีการหาคำตอบได้แบบมนุษย์มากกว่าระบบงานทั่วไปซึ่งใช้เพียงประโยคเงื่อนไขธรรมดา

- เจนเนติกอัลกอริทึม (Genetic Algorithm) หรืออัลกอริทึมพันธุกรรม ใช้หลักการด้านพันธุกรรมของชาร์ล ดาร์วิน การสุ่ม และฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ในการสร้างกระบวนการวิวัฒนาการด้วยตนเองของระบบในการหาคำตอบที่ดียิ่งขึ้นโดยใช้แนวทางการแก้ปัญหาแนวเดียวกับที่สิ่งมีชีวิตปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อม

- เอเยนต์ชาญฉลาด (Intelligent Agents) ใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญหรือเทคนิคของปัญญาประดิษฐ์อื่นๆ เพื่อพัฒนาเป็นโปรแกรมประยุกต์ให้กับผู้ใช้ปลายทาง

- ระบบการเรียนรู้ (Learning Systems) เป็นระบบที่สามารถพัฒนาพฤติกรรมของระบบเองด้วยการพัฒนาจากข้อมูลที่ระบบได้รับในระหว่างการประมวลผล



2. Roboics

พื้นฐานของวิศวกรรมและสรีรศาสตร์ เป็นการพยายามสร้างหุ่นยนต็ไห้มีความฉลาดและถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์แต่สามารถเครื่องไหวได้เหมือนกับมนุษย์



3. Natural Interface

งานด้านนี้ได้ชื่อว่าเป็นงานหลักที่สำคัญที่สุดของปัญญาประดิษฐ์ และพัฒนาบนพื้นฐานของภาษาศาสตร์ จิตวิทยา และวิทยาการคอมพิวเตอร์

- ระบบที่มีความสามารถในการเข้าใจภาษามนุษย์ (Natural Language) รวมเทคนิคของการจดจำคำพูดและเสียงของผู้ใช้งาน ทำให้มนุษย์สามารถพูดหรือสั่งงานกับคอมพิวเตอร์หรือหุ่นยนต์ได้ด้วยภาษามนุษย์

- ระบบภาพเสมือนจริง (Virtual Reality) เป็นการสร้างภาพเสมือนจริงหรือภาพจำลองของเหตุการณ์โดยระบบคอมพิวเตอร์ มีการติดตั้งตัวเซ็นเซอร์ต่างๆไว้กับอุปกรณ์ที่ใช้เป็นอินพุต/เอาท์พุต เพื่อใช้ตรวจจับความเคลื่อนไหวของผู้ใช้งาน ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานได้เข้าถึงโลกของภาพเสมือนจริงแบบ 3 มิติ เช่น การสร้างเกมคอมพิวเตอร์แบบ 3 มิติ



ระบบปัญญาประดิษฐ์แบบผสมผสาน (Hybrid AI Systems)

เป็นการนำเอาระบบต่างๆ หรือเทคนิคต่างๆ ของปัญญาประดิษฐ์ที่กล่าวข้างต้นมาบูรณาการเข้าด้วยกันเป็นระบบเดียว ส่วนใหญ่จะเป็นการบูรณาการระหว่างระบบผู้เชี่ยวชาญกับระบบเครือข่ายนิวรอนเข้าด้วยกัน เช่น โปรแกรมประยุกต์ดาต้าไมนิ่ง ด้านการตลาดและการขายของบริษัท



ประโยชน์ของปัญญาประดิษฐ์

1. ข้อมูลในระบบจะถูกเก็บในลักษณะที่เป็นฐานความรู้ขององค์การ

2. ช่วยเพิ่มความสามารถให้กับฐานความรู้ขององค์การด้วยการเสนอวิธีการแก้ปัญหาสำหรับงานเฉพาะด้าน

3. ระบบจะถูกนำมาช่วยทำงานในส่วนที่เป็นงานประจำหรืองานที่น่าเบื่อหน่ายสำหรับมนุษย์

4. ระบบจะช่วยสร้างกลไกที่ไม่นำความรู้สึกส่วนตัวของมนุษย์ เช่น ความลำเอียง ความเหนื่อยล้า ความเบื่อหน่าย ความกังวล เข้ามาเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจ



ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems)

เป็นระบบที่ช่วยในการแก้ปัญหาหรือช่วยในการตัดสินใจโดยใช้วิธีเดียวกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์



องค์ประกอบของผู้เชี่ยวชาญ

1. ฐานความรู้ (Knowledge Base) เป็นส่วนของความรู้ของผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด ซึ่งจะเก็บไว้ในฐานข้อมูลของระบบ

2. โปรแกรมของระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System Software หรือ Software Resources) แบ่งออกได้ 2 ส่วน

1) ส่วนที่ใช้ในการประมวลผลความรู้จากฐานความรู้

2) ส่วนที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้



ประโยชน์ของระบบผู้เชี่ยวชาญ

1. ช่วยในการเก็บความรู้ของผู้เชี่ยวชาญในด้านหนึ่งด้านใดโดยเฉพาะไว้ ทำให้ไม่สูญเสียความรู้และสามารถนำความรู้มาใช้งานได้ตลอดเวลา

2. ช่วยขยายขีดความสามารถในการตัดสินใจ

3. สามารถเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้กับผู้ใช้ระบบในการตัดสินใจ

4. ช่วยให้การตัดสินใจในแต่ละครั้งมีความใกล้เคียงและไม่ขัดแย้งกัน

5. ช่วยลดการพึ่งพาบุคคลใดบุคคลหนึ่ง



ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information Systems: GIS) คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลที่มีความสัมพันธ์ในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง เป็นต้น



องค์ประกอบของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ แบ่งออกเป็น 5 ส่วน

1. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ รวมไปถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เช่น เครื่องอ่านพิกัด เครื่องกวาดตรวจ พล็อตเตอร์ เครื่องพิมพ์ ฯลฯ

2. โปรแกรม คือชุดคำสั่งสำเร็จรูป เช่น โปรแกรม Arc/Info, MapInfo ฯลฯ

3. ข้อมูล คือข้อมูลต่างๆ ที่ใช้ในระบบ GIS เช่น ข้อมูลเชิงภาพ (Graphic Data) จะใช้จุด เส้น และพื้นที่แทนปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์บนโลก และ ข้อมูลอรรถธิบาย (Attribute Data) เป็นข้อความอธิบายที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงภาพ เช่น ชื่อถนน ลักษณะพื้นผิว ฯลฯ

4. บุคลากร คือผู้ปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบ GIS

5. วิธีการหรือขั้นตอนการทำงาน



หน้าที่หลักของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

1. การนำเข้าข้อมูล (Input)

2. การปรับแต่งข้อมูล (Manipulation)

3. การบริหารข้อมูล (Management)

4. การเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล (Query and Analysis)

5. การนำเสนอข้อมูล (Visualization)



ประโยชน์ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

1. ช่วยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนจากการทำงานด้วยมือ

2. แก้ปัญหาความล่าช้าของข้อมูล

3. สามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลได้ในระดับหนึ่ง

4. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้

5. สามารถควบคุมความเป็นมาตรฐาน

6. สามารถจัดหาระบบความปลอดภัยที่รัดกุมได้

7. สามารถควบคุมความคงสภาพของข้อมูลได้



ระบบ GIS มีความสามารถในการเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับตำแหน่งที่ตั้งจึงเป็นระบบที่เหมาะสมกับข้อมูลสิ่งแวดล้อมมากกว่าระบบสารสนเทศประเภทอื่น แต่การนำระบบนี้มาใช้ควรคำนึงถึงประเด็นดังนี้



1) บุคลากรมีจำกัด: งานด้าน GIS ต้องอาศัยผู้รู้เฉพาะทาง

2) ค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลานาน: การสร้างแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ขึ้นเองมีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลานานทั้งในด้านการศึกษาข้อมูล และการดิจิไทซ์ (Digitize)

3) ความถูกต้องและเชื่อถือได้ของข้อมูล: ระบบ GIS ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลประชากร โรค หรือจำนวนผู้ป่วย ฯลฯ หากข้อมูลไม่ตรงกับความจริงแล้ว ผลการวิเคราะห์ที่ออกมาแก้ไม่ถูกต้อง
บทที่ 10 ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์



ระบบสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงในองค์การ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำหรับการรื้อปรับระบบและการเปลี่ยนแปลงองค์การใน 4 ระดับ คือ การปรับเปลี่ยนระบบงานเดิมให้เป็นระบบงานอัตโนมัติ การเปลี่ยนแปลงระดับกระบวนการปฏิบัติงาน การออกแบบระบบงานใหม่ และการเปลี่ยนแนวความคิด



ระดับของกลยุทธ์

กลยุทธ์ คือ แผนรวมขององค์การที่นำเอาข้อได้เปรียบ และจุดเด่นในด้านต่างๆมาใช้ประโยชน์ และปรับลดจุดด้อย หรือเอาชนะข้อจำกัด ที่มีอยู่เพื่อแสวงหาโอกาส และหลีกเลี่ยงอุปสรรค ทำให้องค์การสามารถเอาชนะคู่แข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ องค์การที่มีหน่วยธุรกิจหลายหน่วย จะมีกลยุทธ์อยู่ 3 ระดับ คือ

1. กลยุทธ์ระดับบริษัท กำหนดโดยผู้บริหารระดับสูง ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานระยะยาว

2. กลยุทธ์ระดับธุรกิจ ให้ความสำคัญกับการแข่งขันของหน่วยธุรกิจ

3. กลยุทธ์ระดับหน้าที่ จะสนับสนุนและสอดคล้องกับกลยุทธ์ระดับธุรกิจและระดับองค์การ



กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์

1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน ภายนอกองค์การ

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การจะพิจารณาเกี่ยวกับโอกาส และ อุปสรรค จะแบ่งเป็น

- การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไป วิเคราะห์ถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อธุรกิจในมุมกว้าง เช่น ปัจจัยทางการเมือง เทคโนโลยี สังคม และ เศรษฐกิจ

- การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลเกี่ยวเนื่องกับการดำเนินงานโดยตรง เช่น รัฐบาล วัตถุดิบ คู่แข่งขัน ลูกค้า

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน ช่วยให้ทราบถึงจุดแข็ง จุดอ่อน ขององค์การ

2. การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy Formulation) นำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมมากำหนดทิศทาง แนวทาง กรอบความคิด

3. การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (Strategy Implementation) นำแผนที่กำหนดไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จต้องพิจารณาอย่างรอบคอบเกี่ยวกับปัจจัยทั้งทางตรงทางอ้อมที่มีผลต่อความสำเร็จและล้มเหลวของกลยุทธ์

4. การควบคุมกลยุทธ์ (Strategy Control) กำหนดกฎเกณฑ์ และมาตรฐานเพื่อเป็นแนวทางในการวัด และเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับมาตรฐานที่กำหนดไว้ การควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลว่าเป็นไปตามแนวทางที่ต้องการหรือไม่



ความหมายของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์

ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ คือ ระบบสารสนเทศใดๆที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสภาพการแข่งขันขององค์การให้ดีขึ้น

ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ คือ ระบบที่สนับสนุนหรือกำหนดแนวทางกลยุทธ์ในการแข่งขันของหน่วยธุรกิจ

ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ คือ ระบบสารสนเทศที่ช่วยให้องค์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ลดความเสียเปรียบ ช่วยให้บรรลุตามวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ขององค์การ



โมเดลแรงผลักดันในการแข่งขันของพอร์เตอร์ (Portes’s Competitive Force Model)

ไมเคิล อี. พอร์เตอร์ ได้พัฒนาโมเดลเพื่อวิเคราะห์สภาวะการแข่งขัน โดยองค์การจะประสบแรงผลักดันในการแข่งขัน ดังนี้

1. อุปสรรคจากผู้แข่งขันรายใหม่ที่เข้าสู่ตลาด

2. อำนาจการต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต

3. อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ หรือ ลูกค้า

4. การแข่งขันระหว่างกิจการต่างๆในอุตสาหกรรม

5. อุปสรรคที่เกิดจากสินค้า หรือ บริการทดแทน

พอร์เตอร์ ได้เสนอกลยุทธ์ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ดังนี้

1. กลยุทธ์ในการเป็นผู้นำด้านราคา (Cost Leadership Strategy) องค์การจะต้องค้นหาให้ได้ว่าสินค้าหรือบริการที่ดีในความรู้สึกของลูกค้ามีลักษณะพื้นฐานอย่างไร และจะต้องบริหารกระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการนั้นให้มีต้นทุนต่ำที่สุดในอุตสาหกรรม

2. กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง (Differentiation Strategy ) การสร้างบริการขององค์การให้มีลักษณะที่โดดเด่น แตกต่างจากคู่แข่งขัน ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ ทำให้ลูกค้ายึดติดในสินค้า และบริการนั้น

3. กลยุทธ์เน้นกลุ่มเป้าหมาย (Focus Strategy) การเลือกตลาดเป้าหมายสำหรับสินค้าหรือบริการที่มีลักษณะแคบลง หรือ มีตลาดเฉพาะด้าน ซึ่งจะมีคู่แข่งน้อยลง แต่มีช่องว่างทางการตลาด กลยุทธ์นี้จะใช้ความพิเศษเหนือกว่าคู่แข่งขันทั้งในด้านสินค้า และ บริการ



กรอบแนวคิดของไวส์แมน

ไวส์แมน ได้ขยายความคิดของ พอร์เตอร์ และเสนอกรอบแนวคิดที่เรียกว่า ทฏษฎีแรงผลักดันด้านกลยุทธ์ (Theory of Strategy Thrust ) องค์การจะจัดการเก็บแรงผลักดันต่างๆ โดยสร้างกลยุทธ์ดังนี้

1. กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง (Diffentiation)

2. กลยุทธ์ด้านราคา (Cost)

3. กลยุทธ์ด้านนวัตกรรม (Innovation)

4. กลยุทธ์ด้านการเจริญเติบโต (Growth)

5. กลยุทธ์ด้านพันธมิตร (Alliance)

โดยมีแนวคิดกลยุทธ์สร้างความแตกต่าง และกลยุทธ์ด้านราคา จะเหมือนกับแนวคิดของพอร์เตอร์ สำหรับกลยุทธ์ด้านนวัตกรรมนั้นเป็นวิธีการหรือการกระทำใหม่เพื่อสร้างสินค้าใหม่ ผลิตและส่งสินค้า ซึ่งจะทำให้ลูกค้าเกิดความพอใจ หากมีการพัฒนานวัตกรรมของสินค้า หรือบริการอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้คู่แข่งไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ทัน

ส่วนกลยุทธ์ด้านการเจริญเติบโตเป็นการขยายตัว และสร้างคุณค่าให้กับสินค้าหรือบริการเพิ่มขึ้นโดยอาจขยายตัวในแนวระนาบ

องค์การอาจใช้กลยุทธ์ด้านพันธมิตร เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เช่น การสร้างระบบสารสนเทศระหว่างองค์การ ที่เชื่อมต่อระบบสารสนเทศขององค์การเข้ากับระบบสารสนเทศขององค์การอื่น โดยมีการใช้ข้อมูลร่วมกันและเป็นกระบวนการทำงานอัตโนมัติโมเดลห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain Model)

พอร์เตอร์ ได้เสนอโมเดลห่วงโซ่แห่งคุณค่า ซึ่งเน้นกิจกรรมหลัก และกิจกรรมสนับสนุนที่เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าหรือบริการขององค์การ หรือราคาของสินค้านั้นมีผลมาจากการเชื่อมโยงคุณค่าในแต่ละขั้นตอน

ห่วงโซ่คุณค่าจึง หมายถึง กิจกรรมที่มีความสัมพันธ์ และเชื่อมโยงกันเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรนำเข้า โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการนำวัตถุดิบ จากผู้ขายวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต กระบวนการจัดจำหน่าย จนถึงกระบวนการจัดส่งไปสู่ผู้บริโภคขั้นสุดท้าย และบริการหลังการขาย

1. กิจกรรมหลัก (Primary Activities)

กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิต กระจายสินค้าหรือบริการ การส่งมอบ และบริการหลังการขาย ได้แก่

- การลำเลียงเข้า (Inbound Logistics) เป็นกิจกรรมที่ลำเลียงวัตถุดิบ หรือทรัพยากรทางธุรกิจเข้าสู่อง๕การ

- การดำเนินงานหรือการผลิต (Operations) เป็นกิจกรรมในการแปลงวัตถุดิบ หรือ ทรัพยากรทางธุรกิจให้เป็นสินค้าหรือบริการ

- การลำเลียงออก (Outbound LOGISTICS) เป็นกิจกรรมในการลำเลียงส่งสินค้า ที่ผลิตแล้วออกสู่ตลาด

ซึ่งเกี่ยวกับงานคลังสินค้า การจัดการวัสดุ และการกำหนดตารางการจัดส่ง

- การตลาดและการขาย (Marketing and Sales) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการขาย ช่องทางการจัดจำหน่าย การกำหนดราคา และส่วนประสมผลิตภัณฑ์

- การบริการ (Services) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการให้บริการลูกค้า เช่น การติดตั้ง การซ่อมแซมผลิตภัณฑ์

2. กิจกรรมสนับสนุน (Support Activities)

กิจกรรมที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินการของกิจกรรมหลัก ได้แก่

- โครงสร้างพื้นฐานของบริษัท (Firm Infrastructure) ประกอบด้วยกิจกรรมเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การจัดการทั่วไป กฎหมาย และระบบข้อมูล

- การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) ประกอบด้วยกิจกรรมด้านการจัดหา การคัดเลือก การฝึกอบรม และพัฒนา การยกระดับความรู้และทักษะ รวมถึงการรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับพนักงาน

- การพัฒนาเทคโนโลยี (Technology Management) เกี่ยวข้องกับงานวิจัย และพัฒนา

- การจัดหา ( Procurement) เกี่ยวข้องกับการซื้อปัจจัยการผลิต เช่น วัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องจักร วัสดุสิ้นเปลือง



ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ต่อการแข่งขัน

พอร์เตอร์ และ มิลลาร์ กล่าวถึงผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่อการแข่งขันใน 3 แนวทางที่สำคัญ

คือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรม และ กฎ ในการแข่งขัน

1. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรม

2. การใช้ไอทีที่ช่วยให้มีการดำเนินงานที่ดีเหนือคู่แข่งขัน

3. การใช้ไอทีในการสร้างธุรกิจใหม่



ความสัมพันธ์ระหว่างแผนกลยุทธ์ธุรกิจ และ แผนกลยุทธ์ระบบสารสนเทศ



1. ระบบบริหารคลังสินค้าอัตโนมัติ และระบบการวางแผนการผลิต ช่วยให้การจัดเก็บวัตถุดิบในคลังมีจำนวนที่เหมาะสม ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารวัสดุคงคลัง

2. ระบบเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างพันธมิตร เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถถูกนำมาเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงธุรกิจขององค์การกับบริษัทพันธมิตรเข้าด้วยกัน เช่น การใช้ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเลคทรอนิกส์ หรือ อินเตอร์เน็ตในการเชื่อมโยงองค์การเข้ากับผู้จัดส่งวัตถุดิบในการผลิต เพื่อให้มีวัตถุดิบเพียงพอ และในระดับที่เหมาะสมกับความต้องการ องค์การทำการเชื่อมโยงผู้จัดส่งวัตถุดิบ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศกัน และ สามารถทำงานร่วมกันได้

3. ระบบฐานข้อมูลลูกค้า โดยข้อมูลลูกค้าอาจได้มาจากหลายแหล่ง เช่น นำข้อมูลลูกค้ามาจากเว็บไซต์โดยใช้ซอร์ฟแวร์สำหรับติดตามลูกค้า มาใช้ในการติดตามพฤติกรรมลูกค้า ข้อมูลที่ได้รวบรวมมาจะถูกนำมาวิเคราะห์หาสิ่งที่สนใจ

4. ระบบบริการหลังการขาย ติดตามปัญหาของลูกค้าในการใช้สินค้า หรือบริการ ไม่ว่าจะเป็นคำร้องเรียน ปัญหาที่เกิดขึ้น ข้อคิดเห็นต่างๆ จะช่วยให้ฝ่ายตลาดไปใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือการบริการให้ดีขึ้นกว่าเดิม
บทที่ 11

ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์การ


ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์การหรือเรียกว่า ERP ชึ่งย่อมาจาก Enterprise Resource Planning



วิวัฒนาการของระบบ ERP

ก่อนที่จะมีระบบ EPR นั้นประมาณช่วงต้นทศวรรษที่ 1960 วงการอุตสาหกรรมได้นำระบบวางแผนความต้องการวัสดุ หรือที่เรียกว่า MPR (Material Requirements Planning) มาช่วยสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการหารายการและจำนวนวัสดุที่ต้องการตามแผนการผลิตที่วางไว้



กระบวนการทางธุรกิจที่สนับสุนนโดยระบบ ERP

ERP เป็นแอปพลิเคชั่นที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในหลายองค์การ ระบบ ERP ช่วยในการจัดการกระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) ทั้งหมดในองค์การไม่ว่ากระบวนการผลิตสินค้า กระบวนการฝ่ายการเงินและการบัญชี กระบวนการขายและกระบวนการผลิต กระบวนการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์และอื่นๆ



ประโยชน์และความท้าทายของระบบ ERP

การนำระบบ ERP มาใช้เป็นกระบวนการที่มีความชับช้อน องค์การต้องปรับรูปแบบการทำงานให้เป็นไปตามความสามารถของซอฟแวร์ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจและการปรับรื้อขั้นตอนการดำเนินงาน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินธุรกิจในด้านกระบวนการบริหารเทคโนโลยีพื้นฐาน และกระบวนการทำงานอย่างรวดเร็ว

- กระบวนการบริหาร

- เทคโนโลยีพื้นฐาน

- กระบวนการทำงานที่รวดเร็ว

ความท้าทาย

การนำระบบ ERP การติดตั้งและใช้งาน (Implementation) เพื่อระบบสารสนเทศหลักขององค์การเป็นเรื่องที่ยาก ต้องใช้เวลาและเงินทุนสูงมาก บางองค์การอาจต้องการปรับซอฟแวร์

- การเปลี่ยนแปลงกระบวนการดำเนินธุรกิจและวัฒนธรรมการทำงานภายในองค์การ

- การบริหารโครงการระบบสารสนเทศขนาดใหญ่และค่าใช้จ่ายในตอนเริ่มต้นที่สูง

- ความไม่ยืดหยุ่นในการปรับซอฟแวร์





ขั้นตอนการนำระบบ ERP มาใช้ในองค์การ

การศึกษาและวางแนวคิดว่ามีความจำเป็นต้องนำระบบมาใช้หรือไม่อย่างไร ทำความเข้าใจถึงรูปแบบทางธุรกิจและกระบวนการทางธุรกิจ การวางแผนนำระบบมาใช้ การกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายและ ขอบข่ายในการนำเอา ERP มาใช้ในทุกส่วนขององค์การโดยตัดสินใจว่าจะพัฒนาหรือว่าคัดเลือกซอฟต์แวร์ที่มีในตลาด การพัฒนาระบบ เป็นขั้นตอนที่ต้องลงรายละเอียดกำหนดงานที่จะต้องทำ ระบุเวลาเป้าหมายที่ได้รับสำรวจระบบงาน ว่าต้องปรับปรุงลดขั้นตอนหรือเปลี่ยนแปลงอย่างไร สรุปความต้องการจากงานต่างๆ การใช้งานและเพิ่มความสามารถ เมื่อองค์การจำเป็นต้องขยายขีดความสามารถและเพิ่มประสิทธิภาพ อาจต้องมีการขยายฟังก์ชั่นการทำงานของระบบ ให้มีการบูรณาการกับซอฟต์แวร์อื่นๆ



โครงสร้างของซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์โมดูล ทำหน้าที่ในงานหลักขององค์กร จะทำงานเฉพาะโมดูลนั้นๆ สามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกันได้ ฐานข้อมูลรวม ซอฟต์แวร์แต่ละโมดูลสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลรวมได้ โดยถูกออกแบบมาให้จัดเก็บไว้ในที่เดียวกัน ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการเพื่อการปรับเปลี่ยนบางงานให้เข้ากับการทำงานขององค์การ ระบบสนับสนุนการพัฒนาและการปรับเปลี่ยนทั้งนี้จาก ความยาก/ง่ายในการปรับเปลี่ยนขึ้นอยู่กับแต่ละซอฟต์แวร์



ปัจจัยในการพิจารณาตัดสินใจเลือกซอฟต์แวร์ ERP

การพิจารณาว่าจะใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปหรือไม่ ต้องดูว่าค่าใช้จ่ายสำหรับองค์การและค่าใช้จ่ายในการพัฒนาบำรุงรักษามาประกอบการพิจาณา ฟังก์ชั่นของ ERP สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และความต้องการในการนำมาใช้งานขององค์การ หากไม่พิจารณาให้รอบคอบเมื่อซื้อมาแล้วจะเกิดปัญหาและขาดประสิทธิภาพในการใช้งาน ความยืดหยุ่นในการปรับแก้ซอฟต์แวร์ เพื่อให้ตรงกับความต้องการขององค์การ รองรับกับการเปลี่ยนแปลงของซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ต้นทุนในการเป็นเจ้าของระบบ ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมและเปรียบเทียบกับผลที่จะได้รับ การบำรุงรักษาระบบต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญอย่างดี รองรับการทำงานหรือเทคโนโลยีในอนาคต เพื่อเตรียมการสำหรับการเชื่อมต่อกับระบบภายนอกได้ง่าย ความสามารถของผู้ขาย ว่าครอบคลุมด้านบริการหลังการขาย สถานะการเงิน ความเชื่อถือ การแก้ไขซอฟต์แวร์



การขยายขีดความสามารถของระบบ ERP และระบบเครือข่ายอุตสาหกรรม

มีความจำเป็นที่ต้องตอบสนองขีดความสามารถต่างๆเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน สนับสนุนการดำเนินการภายในองค์ การและ ขยายขอบเขตให้เชื่อมโยงกับองค์การภายนอกได้ สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันและประสานกระบวนการทางธุรกิจระหว่างองค์การ
บทที่ 12

การพัฒนาระบบสารสนเทศ


ความจำเป็นในการพัฒนาระบบสารสนเทศ

1. การเปลี่ยนแปลงกระบวนการบริหารและการปฏิบัติงาน ระบบเดิมไม่สามารถให้ข้อมูลหรือทำงานได้ตามต้องการ มีการดำเนินงานหลายขึ้นตอน ยุ่งยากในการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาจัดทำข้อมูลสรุปสำหรับการติดตามการปฏิบัติงานโดยรวมขององค์การ จึงจำเป็นต้องพัฒนาหรือปรับปรุงระบบสารสนเทศที่สามารถช่วยให้ขั้นตอนการปฏิบัติงานภายในและกระบวนการบริหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี เทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในระบบสารสนเทศปัจจุบันล้าสมัย ค่าช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบมีราคาสูง จึงต้องรับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ซึ่งทำให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานที่มีอยู่เดิม

3. การปรับองค์การและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

- ระบบที่ใช้งานอยู่ปัจจุบันมีขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อน ขนาดเอกสารอ้างอิงหรือเอกสารที่มีอยู่ไม่ได้มารตรฐาน ทำให้การปรับปรุงหรือแก้ไขทำได้ยาก

- ความต้องการปรับองค์การให้เหมาะสมเพื่อสามารตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

- ระบบปัจจุบันไม่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้

การพัฒนาระบบประกอบด้วย

1) กระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และขั้นตอนการดำเนินธุรกิจขององค์การ

- การปรับปรุงคุณภาพ

- การติดตามความล้มเหลวจากการดำเนินงาน

- การปรับค่าตอบแทนของพนักงานโดยใช้การปรับปรุงคุณภาพเป็นดัชนี

- การค้นหาและแก้ไขสาเหตุที่แท้จริงของความล้มเหลว

2) บุคลากร (People)

3) วิธีการและเทคนิค (Methodology and Technique) การเลือกใช้วิธีการและเทคนิคที่เหมาะสมกับลักษณะของระบบเป็นสิ่งสำคัญ

4) เทคโนโลยี (Technology) เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบในการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความเหมาะสมกับลักษณะขอบเขตของระบบสารสนเทศและงบประมาณที่กำหนด

5) งบประมาณ (Budget)

6) ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานภายในองค์การ (Infrastructure)

7) การบริหารโครงการ (Project Management)



ทีมงานพัฒนาระบบ

การพัฒนา IT เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบกระบวนการพัฒนาระบบหลายกลุ่ม โดยทั่วไปจะมีการทำงานเป็นทีมที่ต้องอาศัยความรู้ ประสบการณ์ และทักษะจากกลุ่มบุคคล

1) คณะกรรมการ (Steering Committee)

2) ผู้บริหารโครงการ (Project Manager)

3) ผู้บริหารหน่วยงานด้านสารสนเทศ (MIS Manager)

4) นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) ควรมีทักษะในด้านต่างๆ คือ

- ทักษะด้านเทคนิค

- ทักษะด้านการวิเคราะห์

- ทักษะดานการบริหารจัดการ

- ทักษะด้านการติดต่อสื่อสาร

5) ผู้ชำนาญการทางด้านเทคนิค

- ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA)

- โปรแกรมเมอร์ (Programmer)

6) ผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป (User and Manager)



หลักในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ

1) คำนึงถึงเจ้าของและผู้ใช้ระบบ

2) เข้าถึงปัญหาให้ตรงจุด ซึ่งมีแนวทางการแก้ปัญหาที่เป็นระบบมีขั้นตอนดังนี้

- ศึกษาทำความเข้าใจในปัญหาที่เกิดขึ้น

- รวบรวมและกำหนดความต้องการ

- หาวิธีการแก้ปัญหาหลายๆ วิธีและเลือกวิธีที่ดีที่สุด

- ออกแบบและทำการแก้ปัญหาตามวิธีที่เลือก

- สังเกตและประเมินผลกระทบจากวิธีแก้ปัญหาที่นำมาใช้ และปรับปรุงวิธีการให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

3) กำหนดขั้นตอนหรือกิจกรรมในการพัฒนาระบบ

4) กำหนดมาตรฐานในการพัฒนาระบบ

5) ตระหนักว่าการพัฒนาระบบเป็นการลงทุนประเภทหนึ่ง

6) เตรียมความพร้อมหากจะต้องยกเลิกหรือทบทวนระบบสารสนเทศที่กำลังพัฒนา

7) แตกระบบสารสนเทศที่จะพัฒนาออกเป็นระบบย่อย

8) ออกแบบระบบให้สามารถรองรับต่อการขยายหรือการปรับเปลี่ยนในอนาคต



ขั้นตอนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ

- การกำหนดและเลือกโครงการ (System Identification and Selection)

- การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ (System Initiation and Planning)

- การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)

- การออกแบบระบบ (System Design)

- การพัฒนาและติดตั้งระบบ (System Implementation)

- การบำรุงรักษาระบบ (System Maintenance)



การพัฒนาระบบมีรูปแบบต่างๆ

1. การพัฒนาระบบแบบน้ำตก (Waterfall Model) แต่ละขั้นตอนของการพัฒนาระบบจะเริ่มได้ก็ต่อเมื่อได้ทำขั้นตอนก่อนหน้านี้เสร็จเรียบร้อยและจะไม่ย้อนกลับไปทำขั้นตอนก่อนหน้านี้อีก

2. การพัฒนาระบบแบบน้ำตกที่ย้อนกลับขั้นตอนได้ (Adapted Waterfall ) เป็นรูปแบบการพัฒนาที่หากดำเนินการในขั้นตอนใดอยู่สามารถย้อนกลับไปขั้นตอนก่อนหน้านี้ได้เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดหรือเพื่อต้องการความชัดเจน

3. การพัฒนาระบบอย่างรวดเร็ว (Rapid Application Development) เป็นรูปแบบการพัฒนาที่มีการทำซ้ำบางขั้นตอนจนกว่าขั้นตอนต่างๆ ของระบบที่สร้างจะได้รับการยอมรับ

4. การพัฒนาระบบในรูปแบบขดลวด (Evolutionary Model SDLC) เป็นการพัฒนาระบบแบบวนรอบเพื่อให้การพัฒนาระบบมีความรวดเร็วโดยการพัฒนาระบบจะเริ่มจากแกนกลาง ในรอบแรกของการพัฒนาจะได้ ระบบรุ่น(Version) แรกออกมาและจะปรับปรุงให้ดีขึ้นในรุ่นที่สอง และดำเนินการแบบนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้รุ่นที่สมบูรณ์



วงจรการพัฒนาระบบ

Phase 1 การกำหนดและเลือกสรรโครงการ (System Identification and Selection) ผลของการพิจารณาของคณะกรรมการอาจเป็นไปได้ดังนี้

- อนุมัติโครงการ

- ชะลอโครงการ

- ทบทวนโครงการ

- ไม่อนุมัติโครงการ



Phase 2 การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ (System Initiation and Planning) จะเริ่มจัดทำโครงการ โดยจัดตั้งทีมงานพร้อมทั้งกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบ

- การศึกษาความเป็นไปได้

- การพิจารณาผลประโยชน์หรือผลตอบแทนที่จะได้รับจากโครงการ

- การพิจารณาค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนของโครงการ

- การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการพัฒนาระบบสารสนเทศ



Phase 3 การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) ในขั้นตอนนี้จะเกี่ยวกับการเก็บข้อมูล

- Fact-Finding Technique

- Joint Application Design (JAD)

- การสร้างต้นแบบ



Phase 4 การออกแบบระบบ (System Design) การออกแบบแบ่งเป็น 2 ส่วน

- การออกแบบเชิงตรรกะ (Logical Design)

- การออกแบบเชิงกายภาพ (Physical Design)



Phase 5 การดำเนินการระบบ (System Implementation) ซึ่งจะครอบคลุมกิจกรรมดังต่อไปนี้

- จัดซื้อหรือจัดหาฮาร์ดแวร์ (Hardware) และซอฟต์แวร์ (Solfware)

- เขียนโปรแกรมโดยโปรแกรมเมอร์ (Coding)

- ทำการทดสอบ (Testing)

- การจัดทำเอกสารระบบ (Documentation)

- การถ่ายโอนระบบงาน (System Conversion)

- ฝึกอบรมผู้ใช้ระบบ (Training)



Phase 6 การบำรุงรักษาระบบ (System Maintenance)

เป็นขั้นตอนการดูและระบบเพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพในการทำงานโดยบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีหน้าที่ในส่วนนี้

การบำรุงรักษาระบบแบ่งได้ 4 ประเภท

- Corrective Maintenance เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดของระบบ

- Adaptive Maintenance เพื่อให้ระบบสามารถรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น

- Perfective Maintenance เพื่อบำรุงรักษาระบบให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- Preventive Maintenance เพื่อบำรุงรักษาระบบป้องกันข้อผิดพลาดที่จะเกิด



วิธีการพัฒนาระบบสารสนเทศ

1) การพัฒนาระบบงานแบบดั้งเดิม (Traditional SDLC Methodology) เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศตามวงจรการพัฒนาระบบที่มีขั้นตอนที่แน่นอน วิธีนี้เป็นวิธีเก่าแก่ที่สุดและนิยมเรียกย่อๆ ว่า SDLC

2) การสร้างต้นแบบ (Prototyping) เป็นการสร้างระบบต้นแบบขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้ทดลองใช้งานซึ่งนอกจากผู้ใช้จะได้แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศที่ต้องการแล้วยังช่วยให้มองเห็นภาพของระบบที่จะพัฒนาได้ชัดเจนขึ้น

การพัฒนาระบบโดยใช้ตนแบบแบงออกเป็น 4 ขั้นตอน

ขั้นที่ 1 : ระบุความต้องการเบื้องต้นของผู้ใช้

ขั้นที่ 2 : พัฒนาต้นแบบเริ่มแรก

ขั้นที่ 3 : นำต้นแบบมาใช้

ขั้นที่ 4 : ปรับปรุงแก้ไขต้นแบบ

3) การพัฒนาระบบโดยผู้ใช้ (End-user Development)

4) การใช้บริการจากแหล่งภายนอก (Outsourcing) เนื่องจากองค์การไม่มีบุคลากรที่มีทักษะความชำนาญ การจ้างหน่วยงานหรือบริษัทภายนอกที่มีความชำนาญด้านนี้มาทำการพัฒนาระบบให้ ซึ่งการทำสัญญาจ้างให้หน่วยงานภายนอกมาทำงานเกี่ยวกับการดำเนินงานของฝ่ายคอมพิวเตอร์นี้เรียกว่า IT Outsourcing ในที่นี้จะเรียกสั้นๆ ว่า Outsourcing

5) การใช้ซอฟแวร์สำเร็จรูปประยุกต์ (Application Software Package) เป็นทางเลือกหนึ่งในการพัฒนา เช่น ระบบงานเงินเดือน ระบบบัญชีลูกหนี้ หรือระบบควบคุมสินค้าคลคลัง หากซอฟต์แวร์สำเร็จรูปสามารถสนองต่อความต้องการระบบงานขององค์การได้ องค์การก้ไม่จำเป็นต้องพัฒนาขึ้นเอง เนื่องจากโปรแกรมสำเร็จรูปได้รับการออกแบบและผ่านการทดสอบแล้ว จึงช่วยลดค่าใช่จ่ายและเวลาในการพัฒนาระบบใหม่และยังช่วยให้การทดสอบ การติดตั้ง และการบำรุงรักษาระบบเป็นไปได้ง่ายขึ้น



การพัฒนาระบบบทที่ 13

จริยธรรมและการรักษาความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ



จริยธรรมในสังคมสารสนเทศ

จริยธรรม (Ethics) หมายถึง หลักเกณฑ์ที่ประชาชนตกลงร่วมกันเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิติร่วมกันในสังคม

โดยทั่วไปเมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้วจะกล่าวถึง 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย

1) ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) คือ สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์การต่างๆ

2) ความถูกต้อง (Information Accuracy)

3) ความเป็นเจ้าของ (Information Property) คือกรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ และที่จับต้องไม่ได้เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา บทเพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์

ทรัพสินทางปัญญาได้รับการคุ้มครองสิทธิภยใต้กฎหมาย (1) ความลับทางการค้า (Trade Secret) (2) ลิขสิทฺธิ์ (Copyright) (3) สิทธิบัตร (Patent)

4) การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) การเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้นถือเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลสวนตัว



กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ

ประเทศไทยมีการร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น 6 ฉบับ คือ

1) กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

2) กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

3) กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตร์

4) กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์

5) กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนตัว

6) กฎหมายลำดับรอง รัฐธรรมนูย มาตรา 78 หรือกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ



ความเคลื่อนไหวของรัฐและสังคมต่อผลกระทบทางสังคมของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

รัฐและสังคมตระหนักต่ออิทธิพลของคอมพิวเตอร์ จึงมีความพยายามที่จะปรับปรุงแก้ไขหรือวางกฎหมายที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคปัจจุบัน เช่น การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิส่วนบุคคล กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์



อาชญากรรมคอมพิวเตอร์

เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ เช่น การโจรกรรมข้อมูลหรือความลับของบริษัท การบิดเบือนข้อมูล การฉ้อโกง การฟอกเงิน การถอดรหัสโปรแกรมคอมพิวเตอร์

แฮกเกอร์ (Hacker) คือบุคคลที่ใช้ความรู้ความสามารถในทางที่ไม่ถูกต้อง/ผิดกฎหมาย ได้แก่ การลักลอบเข้าไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นโดยผ่านการสื่อสารเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต

แคร็กเกอร์ (Cracker) คือแฮกเกอร์ที่ลักลอบเข้าไปยังคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นเพื่อวัตถุประสงค์ในเชิงธุรกิจ

Hacktivist หรือ Cyber Terrorist ได้แก่แฮกเกอร์ที่ใช้อินเทอร์เน็ตในการส่งข้อความเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง



การใช้คอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเครื่องมือในการก่ออาชญากรรม

- การขโมยหมายเลขบัตรเครดิต เป็นการขโมยหมายเลขบัตรทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งยากต่อการรู้จนกว่าจะได้รับใชแจ้งยอดการใช้เงินในบัตรนั้น

- การแอบอ้างตัว เป็นการแอบอ้างตัวของผู้กระทำต่อบุคคลที่ตนเป็นอีกคนหนึ่ง การกระทำในลักษณะนี้จะใช้ลักษณะเฉพาะตัว ได้แก่ หมายเลยบัตรประชาชน หมายเลขบัตรเครดิต หนังสือเดินทาง

- การฉ้อโกง หรือการสแกมทางความพิวเตอร์ เป็นการกระทำโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการหลอกลวงผู้อื่น เช่น

(1) การส่งข้อความหรือโฆษณาบนเว็บไซต์ว่าท่านสามารถเดินทางเข้าพัก/ท่องเที่ยวแบบหรูหราในราคาถูก แต่เมื่อไปใช้บริการจริง กลับไม่เป็นอย่างที่บอกไว้

(2) การฉ้อโกงด้านธุรกรรมการเงินหรือการใช้บัตรเครดิต เรียกว่า ฟิชชิ่ง (Phishing) เป็นการสร้างจดหมายข้อความเลียนแบบ หรือรูปแบบการแจ้งข่าวสารของบริษัทที่มีชื่อเสียง เช่น eBay เพื่อหลอกลวงเอาข้อมูลบางอย่างจากผู้ใช้ โดยใด้ผู้ใช้ส่งข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลการเงินไปยังกลุ่มผู้ที่ไม่หวังดี



คอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเป้าหมายของอาชญากรรม

1) การเข้าถึงและการใช้คอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำต่างๆ ที่เกี่ยวข้อมกับคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้อื่นโดยที่เจ้าของไม่อนุญาต การเข้าถึงอาจใช้วิธีการขโมยรหัสส่วนตัว (Personal Identification Number : PIN) หรือการเข้ารหัสผ่าน (Password)

2) การก่อกวนหรือทำลายข้อมูล เป็นอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่เข้าไปปั่นป่วนและแทรกแซงการทำงานของคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์โดยไม่ได้รับอนุญาต

- ไวรัส (Virus) เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น โดยทั่วไปไวรัสคอมพิวเตอร์จะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด

(1) ไวรัสที่ทำงานบน Boot Sector หรือบางครั้งเรียก System Virus

(2) ไวรัสที่ติดที่แฟ้มงานหรือโปรแกรม

(3) มาโครไวรัส (Macro Virus)

- เวิร์ม (Worm) เป็นโปรแกรมความพิวเตอร์ที่กระจายตัวเองเช่นเดียวกับไวรัส แต่แตกต่างที่ไวรัสต้องให้มนุษย์สั่งการเรียกใช้งาน ในขณะที่เวิร์มจะแพร่กระจายจากคอมพิวเตอร์สู่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ โดยผ่านทางอีเมลและเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

- ม้าโทรจัน (Trojan Horse) เป็นโปรแกรมท่แตกต่างจากไวรัสและเวิร์มที่ม้าโทรจันจะไม่กระจายตัวมันเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น แต่จะแฝงตัวอยู่กับโปรแกรมอื่นๆ ที่อาจส่งผ่านมาทางอีเมล เช่น zipped files.exe และเมื่อมีการเรียกใช้ไฟล์ โปรแกรมก็จะลบไฟล์ที่อยู่ในฮาร์ดดิสก์

- ข่าวหลอกลวง (Hoax) เป็นการส่งข้อความต่างๆ กันเหมือนจดหมายลูกโซ่เพื่อให้เกิดความเข้าใจผิด โดยอาศัยเทคนิคทางจิตวิทยา เช่น “Virtual Card for You” “โปรดอย่างดื่ม....” “โปรดอย่าใช้มือถือยี่ห้อ...”

3) การขโมยข้อมูลและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์



การรักษาความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ

1) การใช้ Username หรือ User ID และรหัสผ่าน (Password)

2) การใช้วัตถุใดๆ เพื่อการเข้าสู่ระบบ

3) การใช้อุปกรณ์ทางชีพวภาพ (Biometric Devices)

4) การเรียกกลับ (Callback System)



ข้อควรระวังและแนวทางการป้องกันการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์

- ข้อควรระวังก่อนเข้าไปในโลกโซเบอร์ Haag ได้เสนอกฎไว้ 2 ข้อคือ 1) ถ้าคอมพิวเตอร์มีโอกาสถูกขโมย ให้ป้องกันโดยการล็อคมัน 2) ถ้าไฟล์มีโอกาสที่จะถูกทำลาย ให้ป้องกันด้วยการสำรอง (Backup)

- ข้อควรระวังในการเข้าไปยังโลกไซเบอร์

1) บัตรเครดิตและการแอบอ้าง

- ให้หมายเลยบัตรเครดิตเฉพาะบริษัทที่ท่านไว้วางได้เท่านั้น

- ใช้เฉพาะเว็บไซต์ที่มีระบบรักษาความปลอดภัย เช่น https://

- ใช้รหัสผ่านอย่างน้อย 10 ตัวอักขระ (ควรผสมกันระหว่างตัวอักษรและตัวเลข)

- ใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกันในแต่ละระบบหรือเว็บไซต์

2) การปัองกันข้อมูลส่วนบุคคล พิจารณาอย่างรอบคอบก่อนการให้ข้อมูลส่วนตัว

3) การป้องกันการติดตามการท่องเว็บไซต์ ใช้โปรแกรม เช่น SurfSecret เพื่อป้องกันการติดตามการท่องเว็บไซต์ โปรแกรมจะทำงานคล้ายกับโปรแกรมป้องกันไวรัส และลบข่าวสาร/โฆษณาที่เกิดขี้นเมื่อผู้ใช้ท่างเว็บไซต์

4) การหลีกเลี่ยงสแปมเมล

5) การป้องกันระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย ใช้ไฟร์วอลล์ (Firewall) ที่เป็นอาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์เพื่อทำหน้าที่เป็นยามประตูตรวจสอบการเข้าระบบ

6) การป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์

- ปฏิบัติตามเคล็ดลับง่ายๆ 5 ข้อ ด้วยตัวอักษรย่อ EMAIL ดังนี้

E ย่อมาจาก Exempt from unknown คือ ไม่เปิดอีเมลจากคนแปลกหน้า

M ย่อมาจาก Mind the subject คือ หมั่นสังเกตหัวข้อของจดหมายก่อนที่จะเปิดอ่าน

A ย่อมาจากประโยค Antivirus must be installed หมายความว่า ควรติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส เช่น Norton Antivirus

I ย่อมาจาก Interest on virus news หมายความว่า ควรให้ความสนใจกับข่าวเกี่ยวกับไวรัส ติดตามข่าวสารจากสื่อต่างๆ

L ย่อมาจาก Learn to be cautious หมายความว่า ให้ระวังให้มาก อย่าเปิดอีเมลแบบไม่ยั้งคิด

- ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันการก่อกวนและทำลายข้อมูลได้ที่ศูนย์ประสานงานการรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (http://thaicert.nectec.or.th/)



นอกจากข้อควรระวังแล้วยังมีข้อแนะนำบางประการเพื่อสร้างสังคมและรักษาสิ่งแวดล้อมดังนี้

1) การป้องกันเด็กเข้าไปดูเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม

2) การวางแผนเพื่อจัดการกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ใช้แล้ว

3) การใช้พลังงาน